วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

http://beid.ddc.moph.go.th/th_2011/news.php?items=1697
สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา
             รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา (Ebola) ซึ่งพบในประเทศแถบแอฟริกา จำนวน 4 ประเทศ ได้แก่ ประเทศกินี ไลบีเรีย เซียร์ราลีโอน และไนจีเรีย รวมทั้งสิ้น 1,323 ราย เสียชีวิต 729 รายรายละเอียดดังนี้ี้
    
ประเทศ
รายละเอียด
WHO: World Health Organization
ณ 31 กรกฎาคม 2557
ECDC: European Centre for Disease Prevention and Control
ณ 17 กรกฎาคม
 2557
ประเทศกินี (Guinea)
จำนวนที่เข้าข่ายสงสัยติดเชื้อ
460
406
 
จำนวนผู้ป่วยยืนยันทางห้องปฏิบัติการ
336
297
 จำนวนผู้เสียชีวิต
339
304
ประเทศไลบีเรีย (Liberia)
จำนวนที่เข้าข่ายสงสัยติดเชื้อ
329
172
 
จำนวนผู้ป่วยยืนยันทางห้องปฏิบัติการ
100
70
 จำนวนผู้เสียชีวิต
156
105
ประเทศเซียร์ราลีโอน (Sierra Leone )จำนวนที่เข้าข่ายสงสัยติดเชื้อ
533
386
 จำนวนผู้ป่วยยืนยันทางห้องปฏิบัติการ
473
339
 จำนวนผู้เสียชีวิต
233
194
ประเทศไนจีเรีย (Nigeria )
จำนวนที่เข้าข่ายสงสัยติดเชื้อ
1
-
 
จำนวนผู้ป่วยยืนยันทางห้องปฏิบัติการ
0
-
 จำนวนผู้เสียชีวิต
1
-
    
**ในประเทศไทย ยังไม่เคยพบมีรายงานผู้ป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลามาก่อน**
    
สถานการณ์ในต่างประเทศ   
WHO
World Health Organization
ECDC: European Centre for Disease Prevention and Control
 Ebola virus disease, West Africa – update 31 July 2014 
 Ebola virus disease, West Africa – update 27 July 2014
 Ebola virus disease, West Africa – update 24 July 2014
 Ebola virus disease, West Africa – update 19 July 2014
รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา
 รายงานสถานการณ์ และความคืบหน้าการดำเนินงาน กรณี บุคลากรทางการแพทย์คนสำคัญติดเชื้อไวรัสอีโบลา ในเซียร์รา ลีโอน และพบเป็นผู้ป่วยรายแรก ในประเทศไนจีเรีย ณ วันที่ 30 กรกฎาคม 2557 
 
องค์ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสอีโบล่า
 โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา : สํานักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค ณ กรกฏาคม 2557
 บทความพิเศษ เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา : สํานักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
 WHO:Ebola virus disease (Fact sheet N°103) Updated March 2014 
 สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่: องค์ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสอีโบล่า
        1. ลักษณะโรค 
        2. อาการของ และ ระยะฟักตัว 
        3. การวินิจฉัยโรค 
        4. การรักษา 
        5. แหล่งรังโรค 
        6. วิธีการแพร่โรค 
        7. ระยะติดต่อของโรค 
        8. มาตรการป้องกันโรค 
        9. มาตรการควบคุมการระบาด 
       10. คำแนะนำประชาชน เรื่อง การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา 
       11. คำแนะนำในการเตรียมตัวสำหรับผู้เดินทางไปต่างประเทศ : สำนักโรคติดต่อทั่วไป 
 
หนังสือสั่งการ / หนังสือขอความร่วมมือ
 หนังสือขอความร่วมมือเผยแพร่คำแนะนำกรณีโรคไข้หวัดใหญ่ และโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา สำหรับประชาชน และผู้เดินทางระหว่างประเทศ_ณ วันที่ 11 เมษายน 2557 
 
แนวทาง/มาตรการ
 การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ Ebola โดย สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค 
 แนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน และควบคุมโรค Ebola ประเทศไทย 2557 โดย สำนักระบาดวิทยา | กรมควบคุมโรค  
 มาตรการกระทรวงสาธารณสุข 
 
คำถาม-คำตอบที่พบบ่อย
 คําถามที่พบบอยเกี่ยวกับโรคไวรัสอีโบลา ณ วันที่ วันที่ 15 เมษายน 2557 : โดยสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค 
 
คำแนะนำสำหรับประชาชนทั่วไป
        1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่าที่นำเข้ามาโดยไม่ผ่านการตรวจโรคทั้งที่ป่วยหรือไม่ป่วย
        2. หลีกเลี่ยงการการรับประทานสัตว์ป่าที่ป่วยตายโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะสัตว์จำพวกลิง หรือค้างคาว หรืออาหารเมนูพิสดารที่ใช้สัตว์ป่า หรือสัตว์แปลกๆ มาประกอบอาหาร
 
คำแนะนำสำหรับผู้ที่จะเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา
        1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่า ทั้งที่ป่วยหรือไม่ป่วย
        2. หลีกเลี่ยงการการรับประทานสัตว์ป่าที่ป่วยตายโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะสัตว์จำพวก ลิง หรือค้างคาว หรืออาหารเมนูพิสดารที่ใช้สัตว์ป่า หรือสัตว์แปลกๆ มาประกอบอาหาร
        3. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารคัดหลั่ง เช่น เลือด หรือสิ่งของเครื่องใช้ของผู้ป่วยที่อาจปนเปื้อนกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย หรือศพศพของผู้ป่วยที่เสียชีวิต
        4. หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย หากมีความจำเป็นให้สวมอุปกรณ์ป้องกันร่างกาย และล้างมือ บ่อยๆ
        5. หากมีอาการเริ่มป่วย เช่น มีไข้สูง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ เจ็บคอ อาเจียน ท้องเสีย และมีผื่นนูนแดงตามตัว ให้รีบพบแพทย์ทัน
       อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลกไม่แนะนำให้จำกัดการเดินทางหรือการค้าระหว่างประเทศ สำหรับผู้ที่จะเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของโรคนี้ สำหรับนักท่องเที่ยวยังมีความเสี่ยงในระดับที่ต่ำมาก เนื่องจากผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่ มีการติดเชื้อโดยตรงจากการสัมผัสกับของเหลวในร่างกาย หรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงพยาบาล จากการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ (เข็มและหลอดฉีดยา) ที่ปนเปื้อนเชื้อ รวมถึงไม่มีการป้http://beid.ddc.moph.go.th/th_2011/news.php?items=1697องกันเมื่อมีการสัมผัสกับสารคัดหลั่งที่ติดเชื้อ
 
คำแนะนำสำหรับเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุข
        1. ดำเนินมาตรการเฝ้าระวังบริเวณด่านชายแดน หรือจุดผ่านแดนระหว่างประเทศที่อาจมีผู้เดินทางมาจากประเทศที่เกิดการระบาด และมีอาการสงสัยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ได้แก่ มีไข้สูง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ เจ็บคอ อาเจียน ท้องเสีย และมีผื่นนูนแดงตามตัว
        2. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องการป้องกันควบคุมโรคแก่ประชาชน ได้แก่ การหลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่า หลีกเลี่ยงการการรับประทานสัตว์ป่วยตายโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะสัตว์จำพวกลิง หรือค้างคาวการหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารคัดหลั่งเช่น เลือด จากผู้ป่วยหรือศพ
 
คำแนะนำสำหรับเจ้าหน้าที่ด้านควบคุมโรคในสัตว์ป่า
         1. ดำเนินมาตรการเฝ้าระวังโรคในสัตว์ป่าที่นำเข้ามาจากประเทศที่มีการระบาดของโรคอย่างใกล้ชิด
 
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
          สธ. ชี้ ประเทศไทยเสี่ยงต่อ “ไวรัสอีโบล่า” ต่ำ แต่ไม่ประมาท จัด 3 ระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน   
 

วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เวทีสร้างความสุขยั่งยืนร่วมกับอบต.บ้านเหล่า

                                                     
                                                           





โรคน้ำกัดเท้า ฮ่องกงฟุต กลิ่นเท้า โรคฮิตที่มากับน้ำท่วม

โรคน้ำกัดเท้า ฮ่องกงฟุต กลิ่นเท้า โรคฮิตที่มากับน้ำท่วม


โรคน้ำกัดเท้า ฮ่องกงฟุต กลิ่นเท้า โรคฮิตที่มากับน้ำท่วม
น้ำท่วมทีไรสิ่งที่ตามมาก็คือน้ำท่วมขังที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ แถมน้ำยังสกปรกอีกต่างหาก จะเดินทางไปทำงานแต่ละครั้งก็ต้องเดินลุยน้ำท่วมขังที่เป็น แหล่งรวมของเชื้อโรคต่าง ๆ มากมาย จึงทำให้เท้าของเรามีปัญหากลิ่นเท้า เท้าเปื่อย น้ำกัดเท้า หรือ ฮ่องกงฟุต อย่างแน่นอน แต่ถ้าหากเรารู้วิธีดูแลรักษา และหลีกเลี่ยงที่ถูกวิธีก็จะทำให้เราห่างไกลจากโรคนี้ได้ไม่ยาก
เรามาทำความรู้จัก "โรคน้ำกัดเท้า ฮ่องกงฟุต" วิธีป้องกันและรักษาเบื้องต้นของโรคนี้กันดีกว่า
โรคน้ำกัดเท้าหรือฮ่องกงฟุต เกิดจากเท้าสัมผัสกับน้ำสกปรกซึ่งมีเชื้อราชนิดหนึ่ง (Dermatophytes) ปนอยู่ แล้วไม่ทำความสะอาดทันที ทำให้เท้าอับชื้น เชื้อรานั้นก็จะเติบโตบนผิวหนังที่เท้าทำให้เกิดอาการคัน ระคายเคือง และเป็นแผลพุพองและกลิ่นเท้าตามมา
เท้าที่ติดเชื้อรานี้แล้วจะรักษาให้หายขาดนั้นเป็นไปได้ยาก หากมีอาการคันหรือคาดว่าจะเป็นโรคน้ำกัดเท้า ควรจะรีบปรึกษาแพทย์ ไม่ควรรักษาหรือหาซื้อยามารับประทานเอง อาจจะทำให้เชื้อลุกลามและไม่หายขาดได้ เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์จะทำการเก็บตัวอย่าง ผิวหนังบริเวณที่มีอาการ ไปตรวจ หากพบเชื้อแพทย์จะจ่ายยาทาฆ่าเชื้อรามาให้ ถ้าเป็นมากแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะมาให้ตามลำดับ
เมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะสัมผัสกับน้ำท่วมแล้ว เมื่อขึ้นจากน้ำควรล้างเท้าด้วยน้ำสะอาดทันที หรือใช้สบู่ยับยั้งแบคทีเรียล้างให้สะอาด เช็ดเท้าให้แห้ง ห้ามใส่รองเท้าหรือถุงเท้าที่เปียกชื้น ถุงเท้าควรใส่แล้วซักไม่ใส่ซ้ำ ๆ ลดอาหารประเภทรสจัด และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การรักษาเบื้องต้นเมื่อเกิดอาการคันให้นำสารส้มมาทาบาง ๆ วันละ 3-4 ครั้ง หรือใช้ยาที่มีส่วนผสมของยาฆ่าเชื้อรา เช่นไมนาโซล อีคอนนาโซล ทอลนาฟเทด และทราโวเจน จากนั้นจึงไปพบแพทย์

ค้นหาบล็อกนี้