วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เตือนรับประทาน `เนื้อหมูปรุงไม่สุก เสี่ยงไข้หูดับ`

โดย 
|
/data/content/25403/cms/e_bfgiloqstuwx.jpg
          สธ.เตือนกินหมูกระทะปิ้งย่าง จิ้มจุ่มลาบที่ปรุงไม่สุก เสี่ยงป่วยเป็นไข้หูดับ เผยปีนี้เสียชีวิตแล้ว 12 ราย ป่วย 151 ราย
          นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธาณสุข (สธ.) เตือนประชาชนให้งดรับประทานเนื้อหมูที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ เช่น หมูกระทะที่ปิ้งย่างไม่สุก จิ้มจุ่มที่ต้มไม่สุก ลาบ หลู้ หมูดิบ เนื่องจากในช่วงฤดูฝน ฟาร์มหรือโรงเลี้ยงสัตว์มีความอับชื้น ส่งผลให้สัตว์เลี้ยงมีโอกาสป่วยได้ง่าย โดยเฉพาะหมูซึ่งเป็นพาหะนำเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตค็อกคัส ซูอิส (Streptococcus suis) เป็นสาเหตุของโรคไข้หูดับ ที่มักติดมาสู่คนได้และมีอันตรายถึงชีวิต
          ทั้งนี้ จากข้อมูลสำนักระบาดวิทยากรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-8 ส.ค. 2557 ระบุว่า มีผู้ป่วยโรคไข้หูดับแล้ว 151 ราย เสียชีวิต 12 ราย อัตราป่วยร้อนละ 54-80 ส่วนอัตราเสียชีวิตร้อยละ 5-20 ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในวัยแรงงานที่มักดื่มสุราร่วมกับการรับประทานเนื้อหมูที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ โดยเชื้อแบคทีเรียจจะอยู่ในทางเดินหายใจ และกระแสเลือดของหมูที่กำลังป่วย ติดต่อสู่คนทางบาดแผล รอยขีดข่วนตามร่างกาย ทางเยื่อบุตา และจากการรับประทาน หลังจากนั้นเชื้อจะเข้าไปทำให้เยื่อหุ้มสมอง เยื่อบุหัวใจอักเสบประสาทหูอักเสบและเสื่อมจมหูหนวก
          ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า ผู้ที่ได้รับเชื้อสเตรปโตค็อกคัส ซูอิสเข้าไปในร่างกาย จะป่วยหลังติดเชื้อประมาณ 3-5 วัน อาหารที่พบคือไข้สูง ปวดศรีษะอย่างรุนแรง เวียนศรีษะจนทรงตัวไม่ได้อาเจียน คอแข็ง หูดับ ท้องเสีย ปวดเมื่อกล้ามเนื้อ และเสียชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสเลือด
          อย่างไรก็ตาม นพ.โสภณ เตือนผู้ซื้อให้ควรเลือกเนื้อสัตว์จากตลาดสดหรือห้างสรรพสินค้าที่ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานจากโรงฆ่าสัตว์ ไม่ซื้อเนื้อหมูที่มีกลิ่นคาวสีคล้ำ และให้ปรุงเนื้อหมูให้สุกด้วยความร้อนอย่างน้อย 10 นาที หรือทำให้สุกจนเนื้อไม่มีสีแดง หากมีอาการป่วยหลังรับประทานอาหารที่ปรุงมาจากเนื้อหมูสุกๆ ดิบๆ ให้รับพบแพทย์ทันที เนื่องจากโรคนี้มียารักษาในโรงพยาบาลทุกแห่ง


          ที่มา : หนังสือพิมพ์เอ็มทูเอฟ
          ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

http://beid.ddc.moph.go.th/th_2011/news.php?items=1697
สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา
             รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา (Ebola) ซึ่งพบในประเทศแถบแอฟริกา จำนวน 4 ประเทศ ได้แก่ ประเทศกินี ไลบีเรีย เซียร์ราลีโอน และไนจีเรีย รวมทั้งสิ้น 1,323 ราย เสียชีวิต 729 รายรายละเอียดดังนี้ี้
    
ประเทศ
รายละเอียด
WHO: World Health Organization
ณ 31 กรกฎาคม 2557
ECDC: European Centre for Disease Prevention and Control
ณ 17 กรกฎาคม
 2557
ประเทศกินี (Guinea)
จำนวนที่เข้าข่ายสงสัยติดเชื้อ
460
406
 
จำนวนผู้ป่วยยืนยันทางห้องปฏิบัติการ
336
297
 จำนวนผู้เสียชีวิต
339
304
ประเทศไลบีเรีย (Liberia)
จำนวนที่เข้าข่ายสงสัยติดเชื้อ
329
172
 
จำนวนผู้ป่วยยืนยันทางห้องปฏิบัติการ
100
70
 จำนวนผู้เสียชีวิต
156
105
ประเทศเซียร์ราลีโอน (Sierra Leone )จำนวนที่เข้าข่ายสงสัยติดเชื้อ
533
386
 จำนวนผู้ป่วยยืนยันทางห้องปฏิบัติการ
473
339
 จำนวนผู้เสียชีวิต
233
194
ประเทศไนจีเรีย (Nigeria )
จำนวนที่เข้าข่ายสงสัยติดเชื้อ
1
-
 
จำนวนผู้ป่วยยืนยันทางห้องปฏิบัติการ
0
-
 จำนวนผู้เสียชีวิต
1
-
    
**ในประเทศไทย ยังไม่เคยพบมีรายงานผู้ป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลามาก่อน**
    
สถานการณ์ในต่างประเทศ   
WHO
World Health Organization
ECDC: European Centre for Disease Prevention and Control
 Ebola virus disease, West Africa – update 31 July 2014 
 Ebola virus disease, West Africa – update 27 July 2014
 Ebola virus disease, West Africa – update 24 July 2014
 Ebola virus disease, West Africa – update 19 July 2014
รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา
 รายงานสถานการณ์ และความคืบหน้าการดำเนินงาน กรณี บุคลากรทางการแพทย์คนสำคัญติดเชื้อไวรัสอีโบลา ในเซียร์รา ลีโอน และพบเป็นผู้ป่วยรายแรก ในประเทศไนจีเรีย ณ วันที่ 30 กรกฎาคม 2557 
 
องค์ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสอีโบล่า
 โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา : สํานักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค ณ กรกฏาคม 2557
 บทความพิเศษ เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา : สํานักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
 WHO:Ebola virus disease (Fact sheet N°103) Updated March 2014 
 สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่: องค์ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสอีโบล่า
        1. ลักษณะโรค 
        2. อาการของ และ ระยะฟักตัว 
        3. การวินิจฉัยโรค 
        4. การรักษา 
        5. แหล่งรังโรค 
        6. วิธีการแพร่โรค 
        7. ระยะติดต่อของโรค 
        8. มาตรการป้องกันโรค 
        9. มาตรการควบคุมการระบาด 
       10. คำแนะนำประชาชน เรื่อง การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา 
       11. คำแนะนำในการเตรียมตัวสำหรับผู้เดินทางไปต่างประเทศ : สำนักโรคติดต่อทั่วไป 
 
หนังสือสั่งการ / หนังสือขอความร่วมมือ
 หนังสือขอความร่วมมือเผยแพร่คำแนะนำกรณีโรคไข้หวัดใหญ่ และโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา สำหรับประชาชน และผู้เดินทางระหว่างประเทศ_ณ วันที่ 11 เมษายน 2557 
 
แนวทาง/มาตรการ
 การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ Ebola โดย สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค 
 แนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน และควบคุมโรค Ebola ประเทศไทย 2557 โดย สำนักระบาดวิทยา | กรมควบคุมโรค  
 มาตรการกระทรวงสาธารณสุข 
 
คำถาม-คำตอบที่พบบ่อย
 คําถามที่พบบอยเกี่ยวกับโรคไวรัสอีโบลา ณ วันที่ วันที่ 15 เมษายน 2557 : โดยสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค 
 
คำแนะนำสำหรับประชาชนทั่วไป
        1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่าที่นำเข้ามาโดยไม่ผ่านการตรวจโรคทั้งที่ป่วยหรือไม่ป่วย
        2. หลีกเลี่ยงการการรับประทานสัตว์ป่าที่ป่วยตายโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะสัตว์จำพวกลิง หรือค้างคาว หรืออาหารเมนูพิสดารที่ใช้สัตว์ป่า หรือสัตว์แปลกๆ มาประกอบอาหาร
 
คำแนะนำสำหรับผู้ที่จะเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา
        1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่า ทั้งที่ป่วยหรือไม่ป่วย
        2. หลีกเลี่ยงการการรับประทานสัตว์ป่าที่ป่วยตายโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะสัตว์จำพวก ลิง หรือค้างคาว หรืออาหารเมนูพิสดารที่ใช้สัตว์ป่า หรือสัตว์แปลกๆ มาประกอบอาหาร
        3. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารคัดหลั่ง เช่น เลือด หรือสิ่งของเครื่องใช้ของผู้ป่วยที่อาจปนเปื้อนกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย หรือศพศพของผู้ป่วยที่เสียชีวิต
        4. หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย หากมีความจำเป็นให้สวมอุปกรณ์ป้องกันร่างกาย และล้างมือ บ่อยๆ
        5. หากมีอาการเริ่มป่วย เช่น มีไข้สูง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ เจ็บคอ อาเจียน ท้องเสีย และมีผื่นนูนแดงตามตัว ให้รีบพบแพทย์ทัน
       อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลกไม่แนะนำให้จำกัดการเดินทางหรือการค้าระหว่างประเทศ สำหรับผู้ที่จะเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของโรคนี้ สำหรับนักท่องเที่ยวยังมีความเสี่ยงในระดับที่ต่ำมาก เนื่องจากผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่ มีการติดเชื้อโดยตรงจากการสัมผัสกับของเหลวในร่างกาย หรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงพยาบาล จากการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ (เข็มและหลอดฉีดยา) ที่ปนเปื้อนเชื้อ รวมถึงไม่มีการป้http://beid.ddc.moph.go.th/th_2011/news.php?items=1697องกันเมื่อมีการสัมผัสกับสารคัดหลั่งที่ติดเชื้อ
 
คำแนะนำสำหรับเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุข
        1. ดำเนินมาตรการเฝ้าระวังบริเวณด่านชายแดน หรือจุดผ่านแดนระหว่างประเทศที่อาจมีผู้เดินทางมาจากประเทศที่เกิดการระบาด และมีอาการสงสัยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ได้แก่ มีไข้สูง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ เจ็บคอ อาเจียน ท้องเสีย และมีผื่นนูนแดงตามตัว
        2. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องการป้องกันควบคุมโรคแก่ประชาชน ได้แก่ การหลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่า หลีกเลี่ยงการการรับประทานสัตว์ป่วยตายโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะสัตว์จำพวกลิง หรือค้างคาวการหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารคัดหลั่งเช่น เลือด จากผู้ป่วยหรือศพ
 
คำแนะนำสำหรับเจ้าหน้าที่ด้านควบคุมโรคในสัตว์ป่า
         1. ดำเนินมาตรการเฝ้าระวังโรคในสัตว์ป่าที่นำเข้ามาจากประเทศที่มีการระบาดของโรคอย่างใกล้ชิด
 
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
          สธ. ชี้ ประเทศไทยเสี่ยงต่อ “ไวรัสอีโบล่า” ต่ำ แต่ไม่ประมาท จัด 3 ระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน   
 

วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เวทีสร้างความสุขยั่งยืนร่วมกับอบต.บ้านเหล่า

                                                     
                                                           





โรคน้ำกัดเท้า ฮ่องกงฟุต กลิ่นเท้า โรคฮิตที่มากับน้ำท่วม

โรคน้ำกัดเท้า ฮ่องกงฟุต กลิ่นเท้า โรคฮิตที่มากับน้ำท่วม


โรคน้ำกัดเท้า ฮ่องกงฟุต กลิ่นเท้า โรคฮิตที่มากับน้ำท่วม
น้ำท่วมทีไรสิ่งที่ตามมาก็คือน้ำท่วมขังที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ แถมน้ำยังสกปรกอีกต่างหาก จะเดินทางไปทำงานแต่ละครั้งก็ต้องเดินลุยน้ำท่วมขังที่เป็น แหล่งรวมของเชื้อโรคต่าง ๆ มากมาย จึงทำให้เท้าของเรามีปัญหากลิ่นเท้า เท้าเปื่อย น้ำกัดเท้า หรือ ฮ่องกงฟุต อย่างแน่นอน แต่ถ้าหากเรารู้วิธีดูแลรักษา และหลีกเลี่ยงที่ถูกวิธีก็จะทำให้เราห่างไกลจากโรคนี้ได้ไม่ยาก
เรามาทำความรู้จัก "โรคน้ำกัดเท้า ฮ่องกงฟุต" วิธีป้องกันและรักษาเบื้องต้นของโรคนี้กันดีกว่า
โรคน้ำกัดเท้าหรือฮ่องกงฟุต เกิดจากเท้าสัมผัสกับน้ำสกปรกซึ่งมีเชื้อราชนิดหนึ่ง (Dermatophytes) ปนอยู่ แล้วไม่ทำความสะอาดทันที ทำให้เท้าอับชื้น เชื้อรานั้นก็จะเติบโตบนผิวหนังที่เท้าทำให้เกิดอาการคัน ระคายเคือง และเป็นแผลพุพองและกลิ่นเท้าตามมา
เท้าที่ติดเชื้อรานี้แล้วจะรักษาให้หายขาดนั้นเป็นไปได้ยาก หากมีอาการคันหรือคาดว่าจะเป็นโรคน้ำกัดเท้า ควรจะรีบปรึกษาแพทย์ ไม่ควรรักษาหรือหาซื้อยามารับประทานเอง อาจจะทำให้เชื้อลุกลามและไม่หายขาดได้ เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์จะทำการเก็บตัวอย่าง ผิวหนังบริเวณที่มีอาการ ไปตรวจ หากพบเชื้อแพทย์จะจ่ายยาทาฆ่าเชื้อรามาให้ ถ้าเป็นมากแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะมาให้ตามลำดับ
เมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะสัมผัสกับน้ำท่วมแล้ว เมื่อขึ้นจากน้ำควรล้างเท้าด้วยน้ำสะอาดทันที หรือใช้สบู่ยับยั้งแบคทีเรียล้างให้สะอาด เช็ดเท้าให้แห้ง ห้ามใส่รองเท้าหรือถุงเท้าที่เปียกชื้น ถุงเท้าควรใส่แล้วซักไม่ใส่ซ้ำ ๆ ลดอาหารประเภทรสจัด และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การรักษาเบื้องต้นเมื่อเกิดอาการคันให้นำสารส้มมาทาบาง ๆ วันละ 3-4 ครั้ง หรือใช้ยาที่มีส่วนผสมของยาฆ่าเชื้อรา เช่นไมนาโซล อีคอนนาโซล ทอลนาฟเทด และทราโวเจน จากนั้นจึงไปพบแพทย์

วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557

โรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหนะของโรค นอกจากเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น และก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้ บทความนี้จะบรรยายถึงโรคไข้เลือดออกในแง่การดูแลผู้ป่วยซึ่งมีหัวข้อต่อไปนี้
อุบัติการณืของโรคไข้เลือดออก
เมื่อ คศ 1970มีการระบาดของไข้เลือดออกเป็นครั้งคราว epidermic 9 ประเทศ ปัจจุบันไข้เลือดออก มีการระบาดเพิ่มมากขึ้น ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันไข้เลือดออก เป็นโรคประจำท้องถิ่น endemic ของประเทศมากว่า 100 ประเทศในแถบแอฟริกา อเมริกา เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ western pacific โดยมีความรุนแรงมากในแถบ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ western pacific
ประชากรประมาณ 2500 ล้านคนในประเทศที่มีการระบาดจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้เลือดออก ประมาณว่าจะมีการติดเชื้อปีละ 50 ล้านคน และต้องนอนโรงพยาบาลมากกว่า 500000 คนต่อปี อัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 2.5 แต่อาจจะสูงถึงร้อยละ 20 หากให้การรักษาอย่างดีอัตราการเสียชีวิตอาจจะลดลงต่ำกว่าร้อยละ1
สาเหตุไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย Aedes aegyti ตัวเมียบินไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออก โดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง เชื้อไ/วรัสแดงกีจะเพิ่มจำนวนในตัวยุงประมาณ 8-10 วัน เชื้อไวรัสแดงกี่จะไปที่ผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คน เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนประมาณ 2-7 วันในช่วงที่มีไข้ หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก โรคนี้ระบาดในฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน และโรงเรียน ชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่นยางรถยนต์ กะลา กระป๋อง จานรองขาตู้กับข้าว แต่ไม่ชอบวางไข่ในท่อน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง
เมื่อไรจึงจะสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก
ไข้เลือดออก
อาการของไข้เลือดออกไม่จำเพาะ อาการมีได้หลายอย่าง ในเด็กอาจจะมีเพียงอาการไข้และผื่น ใผู้ใหญ่อาจจะมีไข้สูง ปวดศรีษะ ปวดตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ หากไม่คิดโรคนี้อาจจะทำให้การรักษาช้า ผู้ป่วยอาจจะสียชีวิต ลักษณะที่สำคัญของไข้เลือกออกคือ
  • ไข้สูงเฉียบพลันประมาณ2-7 วัน
  • เบื่ออาหาร หน้าแดง ปวดศีรษะ ร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน และมีอาการปวดท้องร่วมด้วย
  • บางรายอาจจะมีจุดเลือดสีแดงออกตามลำตัว แขนขา อาจจะใรเลือดกำเดาไหล เลือดออกตามรายฟัน และถ่านอุจาระดำเนื่องจากเลือดออกในทางเดินอาหาร และอาจจะช็อค
  • ในรายที่ช็อคจะสังเกตเมื่อไข้ลงผู้ป่วยกลับแย่ลง ซึม มือเท้าเย็น เหงื่อออก หมดสติ และอาจจะเสียชีวิต
การรักษา
ไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับโรคไข้เลือดออก การรักเพียงประคับประคองอย่างใกล้ชิดโดยการเฝ้าระวังภาวะช็อค และเลือดออก และการให้สารน้ำอย่างเหมาะสมก็จะทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลงต่ำกว่าร้อยละ 1
วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก
การผลิตวัคซีนกำลังอยู่ในขั้นพัฒนา แต่มีปัญาเนื่องเชื้อมี 4 สายพันธุ์ คาดการณ์ว่าจะสำเร็จและใช้ได้ในอนาคตอันใกล้ การป้องกันและการควบคุม
วิธีที่จะป้องกันและควบคุมไข้เลือดออกที่ดีที่สุดคือการควบคุมการแพร่กระจายของยุงลาย
  • กำจัดแหล่งเพราะพันธุ์ยุง เช่น กะละ ยาง กระป๋อง
  • หาฝาปิดภาชนะ เช่น โอ่ง ถังน้ำ
  • ในแหล่งน้ำสาธารณะอาจจะเลี้ยงปลาเพื่อกินลูกน้ำ หรือใส่สารเคมีเพื่อฆ่าลูกน้ำ
ขนิดของเชื้อแดงกีเชื้อไวรัสแดงกี เป็น single strnded RNA ไวรัสมีด้วยกัน 4 ชนิด(serotype) DEN1 DEN2 DEN3 DEN4 ซึ่งมี antigen ร่วมกันบางส่วนทำให้เทื่อเกิดการติดเชื้อชนิดหนึ่ง จะเกิดภูมิคุ้มกันต่อเชื้ออีกชนิดหนึ่ง แต่ภูมิที่เกิดจะอยู่ได้ 6-12 เดือน ส่วนภูมิที่เกิดกับเชื้อที่ป่วยจะมีตลอดชีวิต เช่นหากเป็นไข้เลือดออกจากเชื้อ DEN1 ผู้ป่วยจะมีภูมิต่อเชื้อนี้ตลอดชีวิต แต่จะมีภูมิต่อเชื้อแดงกีชนิดอื่นเพียง 6-12 เดือนเท่านั้นจาการศึกษาพบว่าการติดเชื้อซ้ำ หรือการติดเชื้อครั้งที่สองจะเป็นสาเหตุของโรคแดงกีได้ถึงร้อยละ 80-90 ในสมัยก่อนปี 2543พบว่าการระบาดของเชื้อแดงกีเกิดจากสายพันธ์ที่สอง DEN2 แต่หลังจากนั้นพบลดลง แต่จะพบสายพันธ์ DEN3 มากขึ้น แต่หลังจากปี 2543 เชื้อสายพันธ์ที่สอง DEN2 เริ่มกลับมาพบมากขึ้นและมีอัตราการตายสูงเนื่องจากเป็นเชื้อที่หากเป็นแล้วจะเกิดอาการรุนแรง
อาการของโรคติดเชื้อไข้เลือดออก
ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไข้เลือดออกอาจจะไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย หรืออาจจะเกิดอาการรุนแรงจนเสียชีวิต เมื่อหายร่างกายจะมีภูมิต่อเชื้อนั้นตลอดชีวิต ความรุนแรงของการติดเชื้อขึ้นกับอายุ ภาวะภูมิคุ้มกัน และความรุนแรงของเชื้อ
การติดเชื้อไวรัสแดงกิ่วมีอาการได้ 3 แบบคือ

ข้อสำคัญของไข้เลือดออก
  • ให้สงสัยว่าจะเป็นไข้เลือดออกในผู้ที่มีไข้เฉียบพลัน ไข้สูง โดยที่ไม่มีอาการของไข้หวัดร่วมกับ มีจุดเลือดออกหรือทำ touniquet test
  • หากตับโตจะช่วยสนับสนุนว่าเป็นไข้เลือดออก
  • ช่วงที่วิกฤตคือช่วงที่ไข้เริ่มลง หากเกล็ดเลือดต่ำลง ร่วมกับความเข้มข้นของเลือดเพิ่มขึ้นก่อนไข้ลง ให้สงสัยว่าจะเกิดช็อค
  • ยาลดไข้ไม่ได้ทำให้ระยะเวลาที่เป็นไข้ลดลง การให้ยาไม่ถูกต้องอาจจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน
  • หากเลือดมีความเข้มข้นมากขึ้น 20% แสดงว่ามีการรั่วของพลาสม่า จำเป็นต้องได้รับน้ำเกลืออย่างเหมาะสม แต่การให้น้ำเกลือก่อนที่ จะมีการรั่วของพลาสม่าไม่เกิดประโยชน์
  • ภาวะ DSS เกิดจากการรั่งของพลาสม่า ทำให้ร่างกายขาดน้ำ ต้องรีบให้น้ำเกลืออย่างรวดเร็ว และอาจจะจำเป็นต้องให้ Dextran 40
  • การให้น้ำเกลือจะให้เท่ากับพลาสม่าที่รั่ว โดยดูจากความเข้มของเลือดและปริมาณปัสสาวะที่ออก
  • การได้รับน้ำเกลือมากเกินไปอาจจะเกิดน้ำท่วมปอด
  • การเกิดภาวะเป็นกรดจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆตามมา
ความรุนแรงของโรค
ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไข้เลือดออกแดงกิว จะต้องมีหลักฐานการรั่วของพลาสมา (มีความเข้มข้นของเลือด[Hct]เพิ่มขึ้น 20% หรือมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด หรือในช่องท้อง) และมีเกล็ดเลือดต่ำกว่า 100,000 ความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกจัดได้เป็น 4 ระดับ
  • Grade 1 ผู้ป่วยไม่ช็อก เป็นไข้เลือดออกโดยที่ไม่มีจุดเลือดออก ทำ touniquet test ให้ผลบวก
  • Grade 2 ผู้ป่วยไม่ช็อก มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง มีเลือดกำเดาไหล หรืออาเจียนเป็นเลือด
  • Grade 3 ผู้ป่วย่ช็อก มีความดันโลหิตต่ำ ชีพขจรเร็ว pulse pressure แคบ เหงื่อออก กระสับกระส่าย
  • Grade 4 ผู้ป่วย่ช็อกรุนแรง วัดความดันโลหิตไม่ได้
เมื่อไรจะให้กลับบ้าน
  • ไม่มีไข้ 24 ชั่วโมงโดยที่ไม่ได้รับยาลดไข้ ผู้ป่วยอยากอาหาร
  • ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นอย่างชัดเจน
  • ความเข้มของเลือดคงที่
  • 3วันหลังจากรักษาภาวะช็อค
  • เกล็ดเลือดมากกว่า 50000
  • ไม่มีอาการแน่ท้องหรือแน่หน้าอกจากน้ำในท้องหรือช่องเยื่อหุ้มปอด
ภาวะโรคแทรกซ้อนอื่นๆ
  • ตับวาย
  • ไตวาย
  • สมองทำงานผิดปกติ
วิธีป้องกันไข้เลือดออกที่ได้ผลดี และยั้งยืนต้องเป็นแบบบูรณการโดยการร่วมมือของทุกฝ่าย
  • ภาคครัวเรือนต้องป้องกันโดยการกำจัดแหล่งน้ำที่เพาะพันธุ์ยุง และการป้องกันส่วนบุคคล
  • ภาคชุมชนจะต้องมีการรณรงค์ให้มีการกำจัดแหล่งลูกน้ำในชุมชนอย่างน้อยปีละ 2-3 ครั้ง และจะต้องทำพร้อมกันถั่วประเทศโดยการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ
  • สำหรับชุมชนที่ห่างไกลก็อาจจะต้องใช้อาสาสมัคร
  • จัดโปรแกรมสำหรับเด็กและครอบครัวเพื่อกำจัดลูกน้ำ
  • กระตุ้นให้เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดสิ่งแวดล้อม
  • จัดการประกวดพื้นที่ปลอดภัยจากไข้เลือดออก

วันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2557

'ไข้หวัด 2009' คร่าชีวิตชาวอุดรฯ แล้ว 2 ราย

โดย ไทยรัฐออนไลน์ 8 เม.ย. 2557

สสจ.อุดรธานีเผย 'ไข้หวัด 2009' คร่าชีวิตชาวอุดรฯ แล้ว 2 ราย เป็นผู้หญิงสูงอายุ และวัยกลางคน แพทย์ระบุในพื้นที่มีผู้ป่วยรวมแล้ว 13 ราย...
เมื่อวันที่ 8 เม.ย.57 ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.อุดรธานี ถึงกระแสข่าว มีผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นกระจายทั้ง จ.อุดรธานี โดยผู้ป่วยอาการหนักจะถูกส่งตัวเข้ามารับการรักษาที่ รพ.ศูนย์อุดรธานี และมีผู้ป่วยเสียชีวิตไปแล้ว 2 ราย โดยรายแรกเป็นหญิงสูงอายุจาก อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี รายที่ 2 เป็นหญิงวัยกลางคนจาก อ.ศรีธาตุ จ.อุดรธานี ทำให้ฝ่ายสอบสวนโรคต้องลงพื้นที่ ติดตามผู้สัมผัสมาทำการเฝ้าระวัง
ด้านนายเสนีย์ จิตตเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เปิดเผยว่า รับรายงานเบื้องต้นจากนายแพทย์สาธารณสุข จ.อุดรธานี ว่า มีผู้ป่วยและเสียชีวิตด้วยไข้หวัด 2 ราย เป็นไข้หวัดเกิดขึ้นตามฤดูกาล เชื้อระบาดจากคนสู่คน ไม่ใช่ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ หรือไข้หวัดนก ที่กำลังมีการระบาดอยู่ทั่วประเทศ เสียชีวิตเนื่องจากเป็นกลุ่มเสี่ยง และมีอาการป่วยต่อเนื่องนาน จึงสั่งการให้เร่งทำความเข้าใจกับประชาชน ไม่ให้ตื่นตระหนกกับข่าวลือ พร้อมกันนี้ให้ประชาสัมพันธ์มาตรการป้องกัน และการดูแลเฝ้าระวังสุขภาพประชาชนทันที
ขณะที่นายแพทย์สมิต ประสันนาการ นายแพทย์สาธารณสุข จ.อุดรธานี เปิดเผยว่า ขณะนี้หลายจังหวัดมีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่เกิดจากเชื้อ H1N1 และก็มีผู้เสียชีวิตไปแล้ว ในส่วน จ.อุดรธานี ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงปัจจุบัน มีผู้ป่วยรวมทั้งสิ้น 13 ราย ซึ่งกระจายไปตามอำเภอต่างๆ เสียชีวิต 2 ราย นอนพักรักษาตัวที่ รพ.ศูนย์อุดรธานี 1 ราย อาการดีขึ้นจนใกล้หายแล้ว ซึ่งในวันที่ 10 เม.ย.57 ได้เรียกประชุมคณะแพทย์ พยาบาล บุคลากรการแพทย์จากทุกอำเภอ เพื่อกำหนดแนวทางป้องกัน และรักษาให้ชัดเจน
นายแพทย์สาธารณสุข จ.อุดรธานี ยังกล่าวอีกว่า แพทย์มียาฆ่าเชื้อไว้รัสตัวนี้อยู่ แต่จะได้ผลต้องภายใน 48 ชั่วโมง เมื่ออาการผู้ป่วยไม่ค่อยรุนแรง การวินิจฉัยก็เป็นไปได้ยาก ในสถานการณ์เช่นนี้แพทย์ต้องสงสัยไว้ก่อน จะต้องป้ายเชื้อที่คอมาตรวจทันที นอกจากนี้ต้องส่งทีมสอบสวนลงพื้นที่ทันที โดยที่ผ่านมาผู้ป่วยทั้ง 13 ราย ที่เข้ารับการรักษา ทีมสอบสวนโรคลงพื้นที่ คัดกรองผู้สัมผัสโรคทันทีเหมือนกัน ไม่พบผู้ติดเชื้อจากผู้ป่วยเลย จึงแจ้งไปยังประชาชน เฝ้าระวังสุขภาพอย่างเคร่งครัด และหากป่วยช่วงนี้ควรปรึกษาแพทย์.

งานวันผู้สูงอายุร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเหล่า





ค้นหาบล็อกนี้