วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

กิน`เกลือ` มากทำอ้วน-ลงพุง

กิน`เกลือ` มากทำอ้วน-ลงพุง

กิน\'เกลือ\' มากทำอ้วน-ลงพุง thaihealth
นักโภชนาการเผยว่า เกลือเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอ้วน กระตุ้นสารโดปามีน ทำให้รู้สึกมีความสุขขณะกิน
ผศ.ฉัตรภา หัตถโกศล อาจารย์ประจำภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดเผยถึงสาเหตุของโรคอ้วนที่สัมพันธ์กับการกินเค็มว่า จากการศึกษาพบว่ารสเค็มจะกระตุ้นการผลิตสารโดปามีน ซึ่งทำให้รู้สึกมีความสุข ผู้ที่ชอบกินเค็มจึงมักพบว่าเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนได้ง่าย โดยสัญญาณที่บอกว่าจะติดรสเค็ม คือ 1.กินอาหารแปรรูปเป็นประจำ 2.บวม สังเกตจากท้องป่อง หน้าบวม แขนบวม กดแล้วคืนตัว 3.ชอบอาหารรสจัด เช่น กินเผ็ดจัดก็จะกินเค็มตามมา 4.ชอบขนมกรุบกรอบ จำพวกมันฝรั่งทอด ถั่วทอด 5.ชอบเติมเครื่องปรุงหรือซอส และ 6.ตรวจพบภาวะโซเดียมในเลือดสูง คอแห้ง กระหายน้ำ ปวดศีรษะ หงุดหงิด ความดันสูง ฯลฯ
ผศ.ฉัตรภากล่าวว่า วิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดกินเค็ม คือ เลือกกินอาหารสดจากธรรมชาติ เน้นผัก ผลไม้สด ลดกินอาหารแปรรูป อ่านฉลากโภชนาการ กินน้ำเปล่าแทนน้ำหวานหรือน้ำผลไม้ ชิมรสชาติอาหารก่อนปรุง ตั้งเป้ากินเพื่อลดความเค็ม ทั้งนี้ การได้รับโซเดียมสูงในระยะยาวเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะกระดูกผุ และโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร หากลดเค็มต้องเริ่มทีละขั้นตอนช้าๆ เพื่อให้ร่างกายได้ปรับเปลี่ยนและเกิดความเคยชินจะได้ผลในระยะยาว

ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2561

5 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ โรคพิษสุนัขบ้า ที่กำลังระบาดตอนนี้

    Image copyrightAFP/GETTY IMAGES

         เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเตือนให้ประชาชนนำสัตว์เลี้ยงเข้ารับการฉีดวัคซีน และเน้นย้ำให้ผู้ที่ถูกสัตว์เลี้ยงกัดต้องรีบพบแพทย์ทันที หลังพบผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าแล้ว 3 รายใน จ.สุรินทร์ ตรัง และสงขลา
            ล่าสุดสำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ ได้ประกาศให้ 22 จังหวัดในประเทศไทย เป็นเขตโรคระบาดชั่วคราวในขั้น "น่าเป็นห่วง" หลังพบจำนวนสัตว์ป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้ายังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
      1. สถานการณ์เป็นอย่างไร ?

              ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา มีสัตว์ที่ถูกตรวจพบว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้า เพิ่มจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วกว่าเท่าตัว (จาก 160 เป็น 341 ตัว) ตามข้อมูลจากสำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์
             มากกว่าครึ่งของสัตว์ที่ตรวจพบว่าป่วยเป็นโรคพิษสุนัขบ้า เป็นสัตว์ทีมีเจ้าของ ซึ่งขัดกับความเชื่อที่ว่าสัตว์เร่ร่อนเป็นพาหะนำโรคพิษสุนัขบ้า โดยสัตว์ที่พบว่าติดเชื้อมากที่สุดคือ สุนัข (89.40%) ตามมาด้วยวัว (6.47%) และแมว (3.42%)

    Image copyrightGETTY IMAGESคำบรรยายภาพประเทศไทยมีประชากรสุนัขมากกว่า 7.38 ล้านตัว ตามสถิติปี 2559 ของสำนักงานปศุสัตว์
    สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้านับว่าแย่ลง โดยมีจังหวัดที่น่าเป็นห่วงเพิ่มเป็น 22 จังหวัด จาก 13 จังหวัดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้แก่ กรุงเทพฯ, นนทบุรี, สมุทรปราการ, สมุทรสงคราม, ชลบุรี, สุรินทร์, ฉะเชิงเทรา, น่าน, บุรีรัมย์, อุบลราชธานี, เชียงราย, ร้อยเอ็ด, สงขลา, ระยอง, ตาก, ศรีสะเกษ, มหาสารคาม, นครราชสีมา, ตรัง, ประจวบคีรีขันธ์, อำนาจเจริญ และยโสธร
         2. โรคพิษสุนัข เป็นอย่างไร ?

                 โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่ส่งผลกระทบต่อระบบประสาท จากการได้รับเชื้อไวรัสจากน้ำลายของสัตว์ที่ติดเชื้อ เช่น แมว หนู ลิง ค้างคาว และที่พบได้บ่อยที่สุดคือ สุนัข
    เชื้อพิษสุนัขบ้ามีระยะเวลาฟักตัวระหว่าง 2-8 สัปดาห์ และมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเริ่มแรก เช่น กังวล ปวดหัว และเป็นไข้
             เมื่อเชื้อแพร่กระจายไปยังส่วนประสาทส่วนกลางจะก่อให้เกิดการอักเสบในสมองและกระดูกสันหลัง ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตหากไม่สามารถฉีดวัคซีนป้องกันโรคได้ทัน

                ผู้ป่วยส่วนมากได้รับเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าจากน้ำลายของสัตว์ที่ป่วย ซึ่งกรณีหลักจะเกิดขึ้นเมื่อสัตว์ที่ป่วยกัด ข่วน หรือเลีย ทำให้น้ำลายเข้าสู่ร่างกายผ่านทางบาดแผลหรือบริเวณริมฝีปากและนัยน์ตา


    Image copyrightGETTY IMAGES




    3. ทำอย่างไรเมื่อโดนกัดหรือข่วน?

              หากถูกสัตว์ที่สงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัดหรือเลียบาดแผล ต้องรีบล้างแผลด้วยน้ำและสบู่โดยเร็วที่สุด ก่อนจะเดินทางไปพบแพทย์ และควรขังสัตว์ตัวนั้นไว้เพื่อสังเกตอาการเป็นเวลา 10 วัน
              ปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถรักษาโรคพิษสุนัขบ้าได้ อย่างไรก็ตามแพทย์สามารถป้องกันการติดเชื้อที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้เกือบ 100%
            ข้อสำคัญคือผู้ติดเชื้อจะต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที และฉีดวัคซีนตามที่แพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด เพราะหากปล่อยให้ติดเชื้อจนถึงขั้นที่แสดงอาการผู้ป่วยมักจะเสียชีวิต
           วิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือ ผู้เลี้ยงสัตว์ทุกคนควรนำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

    Image copyrightSCIENCE PHOTO LIBRARY

    4. สัตว์ที่ป่วยด้วยโรคพิษสุนัขบ้ามีอาการอย่างไร?
              สภากาชาดไทย อธิบายอาการของสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคพิษสุนัขบ้าไว้ 2 แบบ คือ
                แบบดุร้าย สัตว์มีอาการหงุดหงิด ตื่นเต้น วิ่งพล่าน ไล่กัดคนและสัตว์ตัวอื่น โดยสุนัขจะแสดงอาการเช่นนี้ประมาณ 2-3 วัน หลังจากนั้นจะอ่อนเพลีย ขาหลังไม่มีแรง เดินโซเซ และเสียชีวิตในที่สุด
               แบบเซื่องซึม สังเกตได้ยากกว่าเพราะสัตว์จะมีอาการเหมือนโรคอื่น ๆ เช่น ไข้หวัด หรือ โรคหัด โดยจะมีอาการลิ้นห้อง ปากอ้าหุบไม่ได้ ตัวแข็งเป็นอัมพาต บางตัวมีอาการชักและตายในที่สุด
               ทั้งนี้หากไม่แน่ใจควรนำสัตว์ไปให้สัตวแพทย์ดูอาการ เพราะสัตว์บางตัวอาจมีเชื้อพิษสุนัขบ้าแต่ไม่แสดงอาการ


    Image copyrightAFP/GETTY IMAGES




    5. เหตุใดปีนี้จึงแย่กว่าทุกปี ?

                  ก่อนหน้านี้มีรายงานข่าวว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) หลายพื้นที่ได้หยุดฉีดวัคซีนให้กับสัตว์ ในช่วงกว่า 1-2 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากถูกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ทักท้วงว่า อปท. ไม่ได้มีภารกิจจัดหาวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้กับประชาชนและเป็นการดำเนินการที่ขัดต่อกฎหมาย
                 ประชาไท และ Hfocus รายงานว่า นายธีรวุฒิ กลิ่นกุสุม นายกเทศมนตรีนครรังสิต จ.ปทุมธานี กล่าวว่า ที่ผ่านมาพื้นที่ของเขาได้รับผลกระทบจากการท้วงติงจาก สตง. ค่อนข้างมาก และอาจเป็นเหตุที่ทำให้สถานการณ์ดูรุนแรงขึ้นในหลายพื้นที่ อย่างไรก็ตาม เขากล่าวว่าในปีนี้รัฐบาลได้จัดสรรงบให้ท้องถิ่นฉีดวัคซีนเอง ตามโครงการสัตว์ปลอดโรคคนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งทำให้ปัญหาทุเลาลง

                อย่างไรก็ตาม นายประจักษ์ บุญยัง ผู้ว่า สตง. แถลงว่าเป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อน เนื่องจาก อปท. สามารถดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้ และเคยมีทำหนังสือด่วนที่สุดแจ้งไปทางทุกจังหวัดตั้งแต่กลางปี 2558 แล้ว

               ขณะที่ นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส อดีตผู้ว่าการ สตง. ตรวจเงินแผ่นดิน กล่าวกับ ไทยพีบีเอส ว่าเมื่อปี 2559 สตง. เคยตรวจสอบการจัดซื้อวัคซีนควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าแทบทุกจังหวัด เนื่องจากการสุ่มตรวจในช่วงโรคระบาด หรือ ฤดูร้อน ได้พบปัญหาว่า หน่วยงานท้องถิ่นมักมีการจัดซื้อวัคซีนจำนวนมาก ที่ไร้คุณภาพและในราคาแพงหลายเท่าตัว

              โรคพิษสุนัขบ้าสามารถเกิดได้ทุกฤดูกาล แต่กรมควบคุมโรคได้เตือนด้วยว่าช่วงหน้าร้อนมีส่วนเพิ่มความเสี่ยง เพราะนอกจากสัตว์หงุดหงิดง่ายขึ้นแล้ว ยังเป็นช่วงเด็กนักเรียนปิดเทอม จึงทำให้มีผู้เสี่ยงถูกกัดมากขึ้น

    Image copyrightTAYLOR WEIDMAN/GETTY IMAGES

    ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า โดยองค์การอนามัยโลก
    โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่เกิดจากไวรัสที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
    40% ของผู้ที่ถูกสัตว์ที่เชื่อว่าติดเชื้อพิษสุนัขบ้า เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี
    มนุษย์ติดเชื้อพิษสุนัขบ้าจากสุนัขมากกว่าสัตว์ทุกชนิด คิดเป็นราว 99%
    โรคพิษสุนัขบ้า ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายหมื่นคนต่อปี โดยเฉพาะในเอเชียและแอฟริกา
    การล้างแผลด้วยน้ำและสบู่หลังจากสัมผัสสัตว์ต้องสงสัย สามารถช่วยลดความเสี่ยงติดเชื้อได้อย่างมาก
    การกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไป ทำได้ด้วยการฉีดวัคซีนให้กับสุนัขและป้องกันเ
  • เหตุสุนัขกัด

วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2561

โรคไข้เลือดออก



                                    โรคไข้เลือดออก
        โรคไข้เลือดออก คือ โรคติดเชื้อซึ่งมีสาเหตุมาจาก ไวรัสเดงกี่ (Dengue virus) อาการของโรคนี้มีความคล้ายคลึงกับโรคไข้หวัดในช่วงแรก จึงทำให้ผู้ป่วยเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ว่าตนเป็นเพียงโรคไข้หวัด และทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องในทันที โรคไข้เลือดออกมีอาการและความรุนแรงของโรคหลายระดับตั้งแต่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยไปจนถึงเกิดภาวะช็อกซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต สถิติในปี พ.ศ. 2554 รายงานโดย กลุ่มโรคไข้เลือดออก สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า มีอัตราป่วย 107.02 และอัตราป่วยตาย 0.10 ซึ่งหมายความว่า ในประชากรทุก 100,000 คน จะมีผู้ที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกได้ถึง 107.02 คน และมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ 0.1 คน

การติดต่อ
          ไวรัสเดงกี่ที่เป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออกสามารถมีชีวิตรอดและเพิ่มจำนวนภายในตัวของยุงลาย ยุงลายจึงเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก และกล่าวได้ว่าโรคไข้เลือดออกติดต่อจากคนสู่คน ยุงลายที่เป็นพาหะนี้มีชื่อว่า Aedes aegypti ยุงชนิดนี้ออกหากินเวลากลางวัน ยุงจะกัดและดูดเลือดที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่จากผู้ที่กำลังป่วยเป็นไข้เลือดออก เมื่อยุงลายไปกัดคนใหม่ ก็จะถ่ายทอดเชื้อให้กับคนที่ถูกยุงกัดต่อไป ยุงชนิดนี้อาศัยอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ประเทศไทยจึงเป็นอีกบริเวณหนึ่งที่มีการระบาดของโรคนี้ค่อนข้างสูง โดยพบการระบาดมากที่สุดในฤดูฝน ช่วงอายุของคนที่พบว่าป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกมากที่สุด คือ คนอายุ 10-14 ปี รองลงมาคือ อายุ 15-24 ปี และ อายุ 5-9 ปี ตามลำดับ ส่วนช่วงอายุ 0-4 ปี และมากกว่า 25 ปี จนถึง 65 ปี เป็นช่วงอายุที่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวนน้อยที่สุด
อาการ
         อาการของโรคนี้คล้ายคลึงกับโรคไข้หวัด กล่าวคือ มีอาการไข้ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แต่แตกต่างกันที่ ไข้จะสูงกว่ามาก โดยอาจมีไข้สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ผู้ป่วยจะมีหน้าแดง และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อค่อนข้างมากกว่า หากทำการทดสอบโดยการรัดต้นแขนด้วยสายรัด (Touniquet test) จะพบจุดเลือดออก ผู้ป่วยอาจมีเลือดออกผิดปกติ เช่น เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน หรืออาการเลือดออกผิดปกติอื่นๆ และในบางรายที่มีอาการรุนแรงมากๆ อาจพบอาการซึม เหงื่อออก มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเบาแต่เร็ว ปวดท้องโดยเฉพาะบริเวณใต้ชายโครงขวา ปัสสาวะลดลง อาจถึงกับช็อกและเสียชีวิตได้ โดยอาการนำของภาวะช็อกมักเริ่มจากการมีไข้ลดลง ดังนั้นหากพบว่าผู้ป่วยเริ่มมีไข้ลดลงตามด้วยอาการดังที่กล่าวมา ควรรีบแจ้งแพทย์หรือนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที
       ในเด็กที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก มักพบว่า มีอาการในระยะเริ่มต้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งหากผู้ปกครองละเลยการพาผู้ป่วยไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล ก็มีโอกาสที่ผู้ป่วยเด็กจะเสียชีวิตเนื่องจากการรักษาที่ล่าช้าได้ ดังนั้นผู้ปกครองจึงควรสงสัยไว้ก่อนว่าบุตรหลานที่มีอาการไข้สูงในฤดูฝนอาจเป็นโรคไข้เลือดออก และควรรีบพาบุตรหลานไปรับการรักษา
การรักษา
          เนื่องจากยังไม่มีการพัฒนายาฆ่าเชื้อไวรัสเดงกี่ การรักษาโรคนี้จึงเป็นการรักษาตามอาการเป็นสำคัญ กล่าวคือมีการใช้ยาลดไข้ เช็ดตัว และการป้องกันภาวะช็อก
          ยาลดไข้ที่ใช้มีเพียงชนิดเดียว คือ ยาพาราเซตามอล (paracetamol) ขนาดยาที่ใช้ในผู้ใหญ่คือ พาราเซตามอลชนิดเม็ดละ 500 มิลลิกรัม รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง โดยไม่ควรรับประทานเกินวันละ 8 เม็ด (4 กรัม) ส่วนขนาดยาที่ใช้ในเด็กคือ พาราเซตามอลชนิดน้ำ 10-15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อครั้ง ทุก 4-6 ชั่วโมง โดยไม่ควรรับประทานเกินวันละ 5 ครั้ง หรือ 2.6 กรัม ยาพาราเซตามอลนี้เป็นยารับประทานตามอาการ ดังนั้น หากไม่มีไข้ก็สามารถหยุดยาได้ทันที
         ผลิตภัณฑ์พาราเซตามอลชนิดน้ำสำหรับเด็กมีจำหน่ายในหลายความแรงได้แก่ 120 มิลลิกรัมต่อ 1 ช้อนชา (1 ช้อนชา เท่ากับ 5 มิลลิลิตร), 250 มิลลิกรัมต่อ 1 ช้อนชา, และ 60 มิลลิกรัมต่อ 0.6 มิลลิลิตร ส่วนใหญ่เป็นยาน้ำเชื่อมที่ต้องรินใส่ช้อนเพื่อป้อนเด็ก ในกรณีทารก การป้อนยาทำได้ค่อนข้างยากจึงมีผลิตภัณฑ์ยาที่ทำจำหน่ายโดยบรรจุในขวดพร้อมหลอดหยด เวลาใช้ก็เพียงแต่ใช้หลอดหยดดูดยาออกจากขวดและนำไปป้อนเด็กได้เลย ด้วยเหตุที่ผลิตภัณฑ์พาราเซตามอลชนิดน้ำสำหรับเด็กมีหลายความแรงจึงควรอ่านฉลากและวิธีใช้ให้ดีก่อนนำไปป้อนเด็ก กล่าวคือ หากเด็กหนัก 10 กิโลกรัม และมียาน้ำความแรง 120 มิลลิกรัมต่อ 1 ช้อนชา ก็ควรป้อนยาเด็กครั้งละ 1 ช้อนชาหรือ 5 มิลลิลิตร และป้อนซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมงแต่ไม่ควรป้อนยาเกินวันละ 5 ครั้ง หากไม่มีไข้ก็สามารถหยุดยาได้ทันที

           แอสไพรินและไอบูโปรเฟน เป็นยาลดไข้เช่นกัน แต่ยาทั้งสองชนิดนี้ห้ามนำมาใช้ในโรคไข้เลือดออก เนื่องจากยาทั้งสองชนิดนี้จะยิ่งส่งเสริมการเกิดภาวะเลือดออกผิดปกติจนอาจเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยได้
           ในส่วนการป้องกันภาวะช็อกนั้น กระทำได้โดยการชดเชยน้ำให้ร่างกายเพื่อไม่ให้ปริมาตรเลือดลดต่ำลงจนทำให้ความดันโลหิตตก แพทย์จะพิจารณาให้สารน้ำตามความรุนแรงของอาการ โดยอาจให้ผู้ป่วยดื่มเพียงสารละลายเกลือแร่ โอ อาร์ เอ็ส หรือผู้ป่วยบางรายอาจได้รับน้ำเกลือเข้าทางหลอดเลือดดำ ในกรณีที่ผู้ป่วยเกิดภาวะเลือดออกผิดปกติจนเกิดภาวะเสียเลือดอาจต้องได้รับเลือดเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามจะต้องเฝ้าระวังภาวะช็อกดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นเนื่องจากภาวะนี้มีความอันตรายต่อชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก
การป้องกัน
           แม้ว่าในปัจจุบันกำลังมีการพัฒนาวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสเดงกี่ แต่ก็ยังไม่มียาที่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสเดงกี่ได้ ดังนั้นคำตอบที่ดีที่สุดของโรคไข้เลือดออกในปัจจุบันนี้ คือ การป้องกันไม่ให้เป็นโรคโดยการควบคุมยุงลายให้มีจำนวนลดลงซึ่งทำได้โดยการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายและการกำจัดยุงลายทั้งลูกน้ำและตัวเต็มวัย และป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด ทั้งนี้การป้องกันทำได้ 3 ลักษณะ คือ
1. การป้องกันทางกายภาพ ได้แก่
         ปิดภาชนะเก็บน้ำด้วยฝาปิด เช่น มีผาปิดปากโอ่งน้ำ ตุ่มน้ำ ถังเก็บน้ำ หรือถ้าไม่มีฝาปิด ก็วางคว่ำลงหากยังไม่ต้องการใช้ เพื่อป้องกันไม่ให้กลายเป็นที่วางไข่ของยุงลาย
      ; ; เปลี่ยนน้ำในแจกันดอกไม้สดบ่อยๆ อย่างน้อยทุกๆ 7 วัน
      ; ; ปล่อยปลากินลูกน้ำลงในภาชนะเก็บน้ำ เช่น โอ่ง ตุ่ม ภาชนะละ 2-4 ตัว รวมถึงอ่างบัวและตู้ปลาก็ควรมีปลากินลูกน้ำเพื่อคอยควบคุมจำนวนลูกน้ำยุงลายเช่นกัน
      ; ; ใส่เกลือลงน้ำในจานรองขาตู้กับข้าว เพื่อควบคุมและกำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยใส่เกลือ 2 ช้อนชา ต่อความจุ 250 มิลลิลิตร พบว่าสามารถควบคุมลูกน้ำได้นานกว่า 7 วัน
2. การป้องกันทางเคมี ได้แก่
        ; ; เติมทรายทีมีฟอส ซึ่งเป็นสารเคมีที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้และรับรองความปลอดภัย เหมาะสมกับภาชนะที่ไม่สามารถใส่ปลากินลูกน้ำได้
        ; ; การพ่นสารเคมีหรือยากันยุงเพื่อกำจัดยุงตัวเต็มวัย มีข้อดีคือ ประสิทธิภาพสูง แต่ข้อเสียคือ มีราคาแพง และเป็นพิษต่อคนและสัตว์เลี้ยง จึงต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการฉีดพ่นและฉีดเฉพาะเมื่อจำเป็นเท่านั้น เพื่อป้องกันความเป็นพิษต่อคนและสัตว์เลี้ยง ควรเลือกฉีดในเวลาที่มีคนอยู่น้อยที่สุดและฉีดพ่นลงในแหล่งที่คาดว่าเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เช่น ท่อระบายน้ำ กระถางต้นไม้ เป็นต้น
       ; ; การใช้สารเคมีเพื่อกำจัดยุงในบ้านเรือน ที่ใช้กันมี 2 ชนิด คือ ยาจุดกันยุง และสเปรย์ฉีดไล่ยุง โดยสารออกฤทธิ์อาจเป็นยาในกลุ่มไพรีทรอยด์ (Pyrethroids), ดีท (DEET, diethyltoluamide) เป็นต้น เมื่อก่อนมียาฆ่ายุงด้วย มีชื่อว่า ดีดีที แต่สารนี้ถูกยกเลิกการใช้ไปแล้วเนื่องจากเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตและตกค้างในสิ่งแวดล้อมเป็นระยะเวลานานมาก อย่างไรก็ตาม สารเคมีไม่ว่าจากยาจุดกันยุงหรือสเปรย์ฉีดไล่ยุง ก็มีความเป็นพิษต่อคนและสัตว์ ดังนั้นเพื่อลดความเป็นพิษดังกล่าวควรจุดยากันยุงในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ล้างมือทุกครั้งหลังจากสัมผัส ส่วนยาฉีดไล่ยุงจะมีความเป็นพิษมากกว่า ดังนั้นห้ามฉีดลงบนผิวหนัง และควรปฏิบัติตามวิธีใช้ที่ระบุข้างกระป๋องอย่างเคร่งครัด
3. การปฏิบัติตัว ได้แก่
    ; ; นอนในมุ้ง หรือนอนในห้องที่มีมุ้งลวดเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด โดยจะต้องปฏิบัติเหมือนกันทั้งกลางวันและกลางคืน
    ; ; หากไม่สามารถนอนในมุ้งหรือนอนในห้องที่มีมุ้งลวดได้ ควรใช้ยากันยุงชนิดทาผิวซึ่งมีสารสำคัญที่สกัดจากธรรมชาติ เช่น น้ำมันตะไคร้หอม (oil of citronella), น้ำมันยูคาลิปตัส (oil of eucalyptus) ซึ่งมีความปลอดภัยสูงกว่ามาทาหรือหยดใส่ผิวหนังใช้เป็นยากันยุง แต่ประสิทธิภาพจะต่ำกว่าDEE

ที่มาhttp://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/102/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81/

วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

กรมอนามัยเตือนกินเห็ดป่าไม่รู้จัก อาจถึงตายได้

เตือนกินเห็ดป่าไม่รู้จัก อาจถึงตายได้ thaihealth
น.พ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย เตือนประชาชนว่า ห้ามทานเห็ดป่าที่ไม่รู้จัก อาทิ เห็ดระโงกหิน เห็ดระงาก หรือเห็ดสะงาก เห็ดไข่ตายซาก ชี้เสี่ยงเป็นเห็ดพิษ เพราะหากทานเข้าไปอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ หรือหากเผลอทานเข้าไปต้องรีบทำให้อาเจียนออกมาให้มากที่สุด และนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที
ทั้งนี้ ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ในปี 2557 รายงานว่า มีผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษจากการรับประทานเห็ดพิษรวม 1,200 ราย เสียชีวิต 10 ราย
ที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

วันอังคารที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2561

โรคตาแดงระบาดหนัก

        โรคตาแดงระบาดหนัก พบป่วยแล้วนับแสนราย ตั้งแต่ต้นปี

      โรคตาแดง
    สธ. เตือนโรคตาแดงระบาดช่วงหน้าฝน รอบ 8 เดือนปีนี้ ขณะนี้พบแล้วกว่า 100,000 ราย (กระทรวงสาธารณสุข)
    ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล

              โรคตาแดงระบาดหนัก รอบ 8 เดือนพบป่วยแล้ว 115,255 ราย เทียบเท่าผู้ป่วยปี 55 ทั้งปี เกือบครึ่งเป็นเด็กเล็กและวัยเรียน แพทย์แนะวิธีป้องกัน ให้ล้างมือบ่อย ๆ คนที่ป่วยแล้วควรหยุดพักงาน หยุดเรียนอย่างน้อย 3 วัน งดลงเล่นน้ำในสระ

              เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2557 นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ช่วงนี้ฝนตกชุกเกือบทุกภาค บางพื้นที่มีน้ำท่วมขัง และพบว่าโรคตาแดงจากเชื้อไวรัสมักระบาดในช่วงนี้ เนื่องจากสภาพอากาศที่ชื้น แฉะ เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสและติดต่อกันง่ายมาก 

              ทั้งนี้ข้อมูลสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ในปี 2557 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-18 สิงหาคม ทั่วประเทศมีผู้ป่วยแล้ว 115,255 ราย ซึ่งสูงเกือบเท่าปี 2555 ตลอดปีที่มี 118,882 ราย พบผู้ป่วยทุกวัยเกือบครึ่งเป็นเด็กเล็กและวัยเรียน คาดว่าผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นตลอดฤดูฝนปีนี้ จึงได้เน้นย้ำให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ประชาชนในการป้องกันโรคตาแดง โดยเฉพาะตามโรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก ที่ทำงาน ห้างสรรพสินค้า ซึ่งมีคนอยู่รวมกันจำนวนมาก รวมทั้งในพื้นที่น้ำท่วม เนื่องจากมีปัญหาขาดแคลนน้ำสะอาด และความสกปรกของน้ำที่ท่วมขัง
                     
              ด้านนายแพทย์ฐาปนวงศ์  ตั้งอุไรวรรณ จักษุแพทย์ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า กล่าวว่า ในช่วงนี้มีผู้ป่วยตาแดงไปรักษาที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้าจำนวนมาก ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยโรคตาแดงจากไวรัสที่ระบาดอยู่ในขณะนี้มี 2 ลักษณะ คือ 

               1. โรคตาแดงที่เกิดพร้อมกับไข้หวัด โดยจะมีอาการตัวร้อน คัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ คออักเสบ ต่อมน้ำเหลืองที่หน้าหูปวดบวม นำมาก่อน จากนั้นภายใน 2 วันจะมีอาการตาแดงตามมา บางรายอาจมีจุดเลือดออกที่ตาขาวด้วย

               2. โรคตาแดงที่เกิดรุนแรงขึ้นมาอย่างรวดเร็ว โดยไม่มีอาการอื่น ๆ มาก่อน มักมีประวัติพบคนที่เป็นตาแดงหรือคนใกล้ชิดเป็นตาแดงมาก่อน ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำ ทำให้มีขี้ตามาก และเป็นสีเหลืองหรือสีเขียว มักเริ่มเป็นที่ข้างใดข้างหนึ่งก่อนและลามไปเป็น 2 ข้างอย่างรวดเร็วภายใน 1-2 วัน บางรายอาจมีตาดำอักเสบ ทำให้เคืองตามากและมีแผลที่ตาดำชั่วคราวได้
              
              โรคนี้ติดต่อกันง่าย เนื่องจากเชื้อไวรัสจะอยู่ในสิ่งสกปรก น้ำตา ขี้ตาของผู้ที่เป็นตาแดง เชื้อไวรัสจะตายเมื่ออยู่ในที่แห้งภายใน 30 นาที การติดต่อมี 3 ลักษณะ คือ 

      1. จากมือที่ไปสัมผัสน้ำตา ขี้ตาผู้ป่วยตาแดงที่ติดอยู่ตามสิ่งของพื้นผิวต่าง ๆ ขณะที่ยังไม่แห้ง เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได โต๊ะทำงาน แป้นคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ ราวรถเมล์ เป็นต้น แล้วมาสัมผัสที่ตา หรือใช้ของส่วนตัวร่วมกันกับผู้ป่วย เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น 

               2. จากแมลงหวี่แมลงวันที่ตอมสิ่งสกปรกหรือตอมตาของผู้เป็นตาแดงแล้วไปตอมตาคนอื่นต่อ 

               3. เด็กที่ลงเล่นในน้ำท่วมขังซึ่งน้ำจะมีความสกปรกสูง 

              ทั้งนี้ในการป้องกันโรคตาแดง ขอให้ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หลีกเลี่ยงการใช้มือแคะ แกะ เกาหน้า ขยี้ตา ไม่ลงเล่นน้ำท่วม หากจำเป็นขอให้รีบอาบน้ำให้สะอาดทันทีหลังขึ้นจากน้ำ ส่วนผู้เป็นโรคตาแดง ขอให้งดลงสระว่ายน้ำจนกว่าจะหาย เพื่อป้องกันเชื้อแพร่กระจายในน้ำ
              
              นายแพทย์ฐาปนวงศ์ กล่าวต่อว่า โรคตาแดงที่เกิดจากเชื้อไวรัส จะไม่มียารักษาโดยเฉพาะ ใช้การรักษาตามอาการ คือใช้ยาหยอดตาเพื่อลดอาการระคายเคือง ถ้ามีขี้ตามากสีเหลืองหรือเขียวแสดงว่าติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วยจะต้องใช้ยาหยอดตาปฏิชีวนะ ซึ่งหากใช้ยา 2 อย่างร่วมกันจะต้องเว้นระยะห่างกันอย่างน้อย 5 นาทีเพื่อไม่ให้ยาล้างกัน แต่หากหยอดยาปฏิชีวนะแล้วมีตาแดงมากขึ้นหรือหนังตาบวมแดงให้หยุดยา และนำยามาปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรว่าแพ้ยาหรือไม่  

              ที่สำคัญคือต้องหยุดเรียน หรือหยุดงานอย่างน้อย 3 วัน พักผ่อนให้มาก ๆ และพักการใช้สายตา ส่วนใหญ่อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่หากยังมีอาการระคายเคืองเหมือนมีทรายเข้าตา ตามัว แสดงว่าอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน ที่สำคัญคือกระจกตาอักเสบ ตาดำอักเสบ หรือม่านตาอักเสบ ขอให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจอย่างละเอียดและให้การรักษาอย่างเหมาะสม
              "ขอแนะนำว่า ประชาชนสามารถดูแลรักษาโรคตาแดงด้วยตนเองในเบื้องต้นได้ โดยซื้อยาหยอดตาจากร้านขายยาที่มีเภสัชกรประจำร้าน หรือไปพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่สถานีอนามัยใกล้บ้าน ขอย้ำว่าอย่าไปซื้อยาหยอดตาที่ไม่รู้แหล่งที่มา โดยเฉพาะยาหยอดตาที่อ้างว่าเป็นยาสมุนไพร หรือใช้น้ำนมหยอดตา เพราะไม่สามารถฆ่าเชื้อได้ และอาจมีเชื้อโรคทำให้ตาอักเสบถึงขั้นตาบอดได้" นายแพทย์ฐาปนวงศ์ กล่าว  



    ขอขอบคุณข้อมูลจาก

วันพุธที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2560

แนะฝึกสมาธิต่อเนื่อง2เดือนช่วยลดความดัน

แนะฝึกสมาธิต่อเนื่อง2เดือนช่วยลดความดัน

แนะฝึกสมาธิต่อเนื่อง2เดือนช่วยลดความดัน thaihealth
สธ.แนะฝึกสมาธิวันมาฆบูชา ทำจิตใจสงบ เกิดสติปัญญา ช่วยแก้ไขปัญหา และลดความเสี่ยงโรคไมเกรน - ความดันโลหิตสูง แนะฝึกวันละประมาณ 15 นาที ติดต่อกันเป็นเวลา 2 เดือน ค่าความดันโลหิตลดลง
พญ.พรรณพิมล วิปุลากร  โฆษกกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ทุกวันนี้คนไทยประสบกับความเครียดและวิตกกังวล จากการใช้ชรวิตที่เร่งรีบ และกดดันทั้งเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ครอบครัว หากปรับตัวไม่ได้อาจเกิดปัญหาตามมา จนมีความเครียดสูงและโรคเรื้อรัง ทั้งไมเกรน ความดันโลหิตสูง ซึ่งอาจทำให้หลอดเลือดแตกหรือตีบตัน ทำให้หัวใจทำงานหนัก เสี่ยงภาวะหัวใจล้มเหลวได้ ซึ่งวันมาฆบูชานี้ นอกจากไปทำบุญตักบาตรแล้ว ขอเชิญชวนประชาชนใช้ฤกษ์วันนี้ฝึกทำสมาธิ เนื่องจากการทำสมาธิเป็นการดูแลสุขภาพวิธีหนึ่ง เป็นเทคนิคของการผ่อนคลายความเครียดที่ลึกซึ้งที่สุด เพราะทำให้จิตใจสงบปลอดจากความคิดซ้ำซาก ฟุ้งซ่าน วิตกกังวล ความเศร้าโศก เกิดสติปัญญาในการแก้ไขปัญหา
“หากฝึกสมาธิเป็นประจำ จะทำให้จิตใจเบิกบาน อารมณ์เย็น สมองแจ่มใส หายเครียด นอกจากนี้ การทำสมาธิจะช่วยให้คลื่นสมองไม่ยุ่งเหยิง สมองสามารถหลั่งสารเอนดอร์ฟิน (Endorphine) ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข จะช่วยให้ร่างกายสดชื่น และมีภูมิต้านทานโรคที่มีประสิทธิภาพอีกด้วย”  โฆษก สธ. กล่าว
พญ.พรรณพิมล กล่าวว่า หลักของการทำสมาธิ คือ การเอาใจไปจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงอย่างเดียวจากผลวิจัยทางการแพทย์พบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีการฝึกทำสมาธิโดยการหายใจช้าๆ และลึกๆ วันละประมาณ 15 นาที ติดต่อกันเป็นเวลา 2 เดือน มีผลให้ค่าความดันโลหิตลดลงมากกว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่ได้เข้ารับการฝึกทำสมาธิ กระทรวงสาธารณสุขจึงสนับสนุนให้คนไทยทุกคน หันมาฝึกทำสมาธิ และควรทำต่อเนื่องเป็นประจำทุกวัน เริ่มจากวันละ 5 นาที เพิ่มเป็น 10 นาทีในวันต่อไป และเพิ่มเป็น 15 นาทีขึ้นไปเรื่อยๆ

ที่มา : เว็บไซต์ ASTV ผู้จัดการออนไลน์
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2559

วันแม่แห่งชาติ

วันแม่แห่งชาติ (12 สิงหาคม) วันแม่แห่งชาติ 2560

วันแม่แห่งชาติทุกวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี
วันแม่แห่งชาติ 2550
วันแม่แห่งชาติปี 2560 นี้ตรงกับวันศุกร์ 12 สิงหาคม 2560และเป็นปีมหามงคลยิ่ง
เนื่องจากสมเด็จพระบรมราชินีนารถ ทรงมีพระชนมายุครบ 83 พรรษา


คำขวัญวันแม่ 25560

“สอนให้ลูกทั้งหลายเดินสายกลาง
ทำทุกอย่างพอดีมีเหตุผล
ประกอบด้วยคุณธรรมนำทางตน
ย่อมได้คนดีพอต่อบ้านเมือง”
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
พระราชทาน “คำขวัญวันแม่ ประจำปี 2559

ค้นหาบล็อกนี้