วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เช็ค 9 สัญญาณอันตราย ก่อนโรคไข้เลือดออกระบาด

fever


เช็ค 9 สัญญาณอันตราย ก่อนโรคไข้เลือดออกระบา

 จากสถิติการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย พบว่าในปี 2556 คาดว่าจะมีอัตราการแพร่ระบาดของไข้เลือดออกสูงและคาดจะมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากที่สุดในรอบ 5 ปี โดยจากการนับอัตราการป่วยของประเทศไทยระหว่างเดือนมกราคม ถึง เมษายน รวมระยะเวลา 4 เดือน พบว่ามีผู้ป่วยประมาณ 24,000 ราย และเสียชีวิตไปแล้วทั้งสิ้น 28 ราย

               ทั้งนี้ สามารถเฉลี่ยผู้เสียชีวิตสูงสุดต่อปีประมาณ 70-100 ราย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ มีโอกาสป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกได้มากเท่าๆกัน และพบมากในช่วงอายุ 10-25 ปี
               เด็กที่ได้รับเชื้อโรคจะมีอาการไข้สูงลอย 2-7 วัน มักไม่มีอาการไอไม่มีน้ำมูกไหล เด็กเล็กที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกจะสังเกตความเปลี่ยนแปลงค่อนข้างยาก ทำให้ต้องดูแลเป็นพิเศษและรักษาเป็นกรณีพิเศษ โดยอาจมีอาการปวดท้อง ถ่ายเหลว ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ มีผื่นแดงตามร่างกาย มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟันผิดปกติ
               ขณะที่เด็กบางรายที่มีอาการรุนแรงมากอาจมีอาการช็อก ซึ่งสังเกตได้ยาก เนื่องจากยังรู้สติดีอยู่ แต่จะดูอ่อนเพลีย ไม่มีแรงข้อสังเกตคืออาการช็อกจะตรงกับวันที่ไข้ลง หรือไข้ต่ำลง อย่างไรก็ตาม ถ้าเฝ้าสังเกตและพบเห็นอาการบ่งชี้ว่าอาจเป็นอาการนำของภาวะช็อกควรรีบนำตัวเด็กเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้มีความเชี่ยวชาญอย่างเร่งด่วน
               โดย 9 อาการเร่งด่วน ที่ต้องรีบเดินทางพบแพทย์ ได้แก่
  1. ไข้ลงหรือไข้ลดลงแต่ยังไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ อาทิ เบื่ออาหาร ไม่ค่อยเล่น และอ่อนเพลีย
  2. คลื่นไส้ อาเจียน ตลอดเวลา 
  3. ปวดท้องมาก
  4. มีเลือดออกมาก เช่น เลือดกำเดาไหล อาเจียน หรือถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ
  5. พฤติกรรมของเด็กเปลี่ยนไปจากปกติ
  6. กระหายน้ำตลอดเวลา 
  7. ร้องกวนมากในเด็กเล์ก 
  8. ตัวเย็นชื้น สีผิวคล้ำลง หรือตัวเป็นลายๆนานเกิน 4-5 ชั่วโมง
  9. ปัสสาวะน้อยลงหรือไม่ถ่ายปัสสาวะ
               ผู้เชี่ยวชาญโรคไข้เลือดออก ให้คำแนะนำเสริมว่า ไข้เลือดออกเกิดจากการที่มียุงลายที่มีเชื้อไข้เลือดออกกัด ยุงลายมักกัดเวลากลางวัน จึงต้องช่วยกันกำจัดยุงลาย ด้วยการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
               ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันและดูแลเด็กให้ห่างไกลโรคไข้เลือดออก  จึงสามารถป้องกันแบบบูรณาการได้โดยดำเนินการควบคู่กันตั้งแต่ระดับตัวเอง อาทิ ใส่เสื้อผ้าแขนยาวและกางเกงขายาว หรือนอนหลับในห้องที่ติดมุ้งลวดมิดชิด ทาสารกันยุงที่ปลอดภัย เช่น ตะไคร้หอม ระดับครัวเรือน ควรกำจัดแหล่งน้ำขังตามสถานที่ต่างๆ อาทิ อุปกรณ์ในครัวเรือนและอุปกรณ์ซักล้างควรคว่ำหรือปิดฝาให้เรียบร้อย เปลี่ยนน้ำรองขาโต๊ะหรือในแจกันทุกสัปดาห์ หรือผสมเกลือ หรือตรวจสอบรอบบริเวณบ้าน รางระบายน้ำบนหลังคาว่ามีแอ่งขังน้ำหรือไม่
               สำหรับการป้องกันในระดับชุมชน ต้องร่วมมือกันในการรณรงค์กำจัดแหล่งน้ำขังภายในชุมชนปีละ 2-3 ครั้ง หรือพ่นยาฆ่าแมลงในเขตชุมชนปีละ2-4 ครั้ง เป็นต้น เพียงเท่านี้ เด็กน้อยและตัวคุณเองก็ห่างไกลจากโรคไข้เลือดออกอย่างแน่นอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหาบล็อกนี้