วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555
วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ฟรี
7 กลุ่มเสี่ยง ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ฟรี 1 มิ.ย.-30 ก.ย.2555
7 กลุ่มเสี่ยง ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ฟรี 1 มิ.ย.-30 ก.ย.2555
สธ.ดีเดย์ 1 มิถุนายนนี้ ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ฟรี ให้กลุ่มเสี่ยง 3.55 ล้านคน พร้อมกันทั่วไทย (กระทรวงสาธารณสุข)
สธ.จับ มือ สปสช.และ อภ. ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ให้ประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์กลุ่มเสี่ยง ทุกสิทธิฟรี จำนวน 3.55 ล้านคน ใช้งบกว่า 500 ล้านบาท ดีเดย์ฉีดพร้อม กันทั่วประเทศตั้งแต่ 1 มิถุนายนถึง 30 กันยายน 2555 ที่สถานพยาบาลของรัฐและเอกชนที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อป้องกันการเสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล 3 สายพันธุ์
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์สมชัย นิจพานิช รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสปสช. นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และนายแพทย์วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม ร่วมกันแถลงข่าวว่า ในปี 2555 นี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมมือกับ สปสช. และองค์การเภสัชกรรม จัดโครงการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ประจำปี 2555 เพื่อฉีดให้กลุ่มเสี่ยง 7 กลุ่มฟรี ได้แก่
1.ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวายเรื้อรัง มะเร็งที่กำลังรับเคมีบำบัด เบาหวาน ธาลัสซีเมีย และภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมทั้งผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีอาการ
2.ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป
3.ผู้มีน้ำหนักตัวมากกว่า 100 กิโลกรัม
4.ผู้พิการทางสมองช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
5.เด็กอายุ 6 เดือน - 2 ปี
6.หญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป
7.บุคลากรทางการแพทย์เจ้าหน้าที่ที่ให้การดูแลรักษาผู้เจ็บป่วย และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดสัตว์ปีก
โดยกลุ่มเสี่ยงทั้งหมดมีจำนวน 3,550,000 คน ซึ่งได้ขยายกลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้นจากปี 2554 จำนวน 1 ล้านคน
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวใช้งบประมาณของ สปสช.กว่า 500 ล้านบาท ให้ บริการฉีดที่โรงพยาบาลภาครัฐ และเอกชนที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เริ่มพร้อมกันทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน เป็นต้นไปจนถึง 30 กันยายน 2555 สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่สายด่วน สปสช. โทร.1330
นายวิทยา กล่าวต่อว่า โรคไข้หวัดใหญ่ มักระบาดในช่วงหน้าฝนถึงฤดูหนาว ปัจจุบันประชาชนจะมองโรคนี้ว่าเป็นโรคที่ไม่รุนแรง แต่สำหรับคนกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ เด็ก ผู้ป่วยโรคเรื้อรังนั้น หากป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่แทรกซ้อน จะมีความเสี่ยงต่อชีวิตมาก
ในแต่ละปีประเทศไทยมีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ 7-9 แสนราย ในจำนวนนี้มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดบวม ต้องรับไว้โรงพยาบาล 12,575 – 75,801 รายต่อปี อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ที่มีภาวะแทรกซ้อนอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาลปีละ 913 – 2,453 ล้านบาท ดังนั้นแนวทางป้องกันที่ดีที่สุด คือ การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้ ในปีนี้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม -14 พฤษภาคม 2555 ทั่วประเทศมีรายงานผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ 11,380 ราย ไม่มีเสียชีวิต
นายวิทยา กล่าวต่อไปว่า เมื่อประชาชนกลุ่มดังกล่าวข้างต้น ได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่แล้ว ก็จะลดการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่หรือภาวะแทรกซ้อนจากโรคไข้หวัดใหญ่ได้ คนไข้ และญาติก็ไม่ต้องเสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายมาหาหมอ ไม่ต้องมีการตรวจรักษาหรือจ่ายยา และไม่มีค่าเดินทางมาโรงพยาบาล ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ขณะที่ภาครัฐก็ลดภาระการรักษาพยาบาลลงได้เช่นกัน
ทั้งนี้ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ฉีดในปีนี้ เป็นวัคซีนรวม 3 สายพันธุ์ คือชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1(A H1N1) ชนิดเอ เอช 3 เอ็น 2 (A H3N2) และชนิดบี (B) ซึ่งเป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลที่พบบ่อยในไทยและทั่วโลก และวัคซีนยังใช้ได้ผลดี เนื่องจากเชื้อไม่มีปัญหากลายพันธุ์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555
วันแม่แห่งชาติ
| |
เปลี่ยน 7 สิ่งสร้างสุขเพื่อแม่
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) ร่วมกับศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ รณรงค์ทำดีเพื่อแม่โดยแนะให้เปลี่ยน 7 อย่างสร้างสุขให้แม่
นายแพทย์กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์ กล่าว ว่า ในช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี ที่ทุกคนระลึกถึงพระคุณของแม่โดยการทำดีเพื่อเป็นการตอบแทนคุณท่าน ซึ่งขอแนะนำให้เปลี่ยน 7 อย่างสร้างสุขให้แม่ ด้วยวิธีง่าย ๆ สไตล์อายุรวัฒน์ โดยให้มีวิถีชะลอวัย โดยไม่จำเป็นต้องปล่อยไปตามวัยเสมอ ดังนี้คือ 1. เปลี่ยนอาหาร ผู้ที่เป็นมารดามักต้องเสียสละร่างกายส่วนหนึ่งเพื่อไปสร้างเป็นร่างกายลูก น้อย ส่วนหายไปทำให้คุณแม่ทรุดโทรมได้เมื่อถึงวัยหนึ่ง การเปลี่ยนอาหารช่วยคุณแม่นั้นขอให้เริ่มที่ ชา,กาแฟ,น้ำอัดลม,น้ำหวานและแอลกอฮอล์ ขอให้เป็นน้ำเพื่อสุขภาพนั่นคือ “น้ำเปล่า” และ “น้ำผักผลไม้ปั่นทั้งกาก” ส่วนในเรื่องมื้ออาหารขอให้ทานแบบไม่ต้องหนักทั้ง 3 มื้อก็ได้ ปรับมื้อเย็นให้เบาลงเป็นสลัดหรือผักน้ำพริกไม่มีข้าว เอาอาหารแคลเซียมสูงเติมเข้าไป อาทิ เต้าหู้,งาดำและปลาเล็กให้คุณแม่รับประทาน “เติมกระดูก” ให้ลูกควงแขนเดินเล่นได้นานๆ
2.เปลี่ยนน้ำดื่ม การดื่มน้ำแบบคุณแม่ต้องเลือกดื่มที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพจริง ๆ น้ำเปล่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุด แต่คุณแม่หลายท่านไม่คุ้นชิน การกินน้ำชา,กาแฟหรือน้ำแร่นั้นก็เป็นเรื่องนานาจิตตังสุดแต่คุณแม่นิยมครับ แต่หลักการก็คือให้มีน้ำเข้าสู่ร่างกายอย่างน้อยวันละ 2 ลิตรเพื่อบำรุงสมองและหัวใจของคุณแม่ให้ไม่เสื่อมไวจากการอักเสบตามวัย 3.เปลี่ยนการนอน คนเมื่อถึงวัยคุณแม่แล้วมักบ่นว่านอนได้น้อยลงหรือไม่ก็ตื่นไวขึ้น การนอนที่ดีของคุณแม่ขอคุณลูกแค่แอบสังเกตว่า “นอนกลางวัน” หรือไม่ถ้าใช่ให้ชวนคุณแม่ทำกิจกรรมอื่นแทนการนอน ถ้ายังไม่หลับอีกก็ให้หา “น้ำเชอรี่”, “ขี้เหล็ก”, “มะตูม” หรือชาคาโมไมล์อุ่นท้องมาให้คุณแม่รับประทานจะช่วยได้มาก
4.เปลี่ยนการนั่ง คุณแม่หลายท่านมีเรื่อง “น้ำหนักเกิน” จากการไม่ค่อยลุกเดิน ขอให้ชวนคุณแม่มาลุกเดินรอบบ้านบ้างหรือเปลี่ยนโลเคชั่นสวยๆ นอกบ้านให้คุณแม่รู้สึกอยากเดิน ไม่เช่นนั้นอาจทำให้ “ข้อเข่า” และ “ข้อสะโพก” มีปัญหา แต่ถ้ามีคุณแม่ที่ขยันไม่หยุด เดินทั้งวันก็ขอให้คุณลูกดูอย่าให้ท่านั่งท่า ขัดสมาธิ,พับเพียบ,ยองๆ และคุกเข่าบ่อยเกินไปเพราะทำลายข้อได้
5.เปลี่ยนข้อไหล่ข้อเข่า นั่นคือเปลี่ยนให้คุณแม่ได้พักร่างกายบ้าง อย่างการหิ้วของหนักหรือยกของจนข้อไหล่และหลังแทบพังนั้นขอให้เว้นไว้เลย เพราะคุณแม่อาจมีปัญหากับ “โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)” หรือกระดูกบางระยะเริ่มต้นมาก่อนแล้ว ลองคิดง่ายว่าตั้งแต่เราเกิดมาก็มีแม่คอยอุ้ม ครั้นโตขึ้นแม่บางท่านต้องช่วยหิ้วกระเป๋าหนังสือ เมื่อเติบใหญ่ทำงานได้แล้วคุณแม่ก็อาจยังต้องคอยช่วยดูแลกิจการ ช่วยยกข้าวของหรือซักผ้าทำงานบ้านเพื่อให้ลูกสบายขึ้น ขอให้จับมือคุณแม่ไว้แล้วช่วยให้ท่านเบาแรง 6.เปลี่ยนหัวใจ ในที่นี้หมายถึงจิตใจข้างในของคุณแม่ต้องแก้ที่ “เครียด” ด้วย ในผู้ใหญ่เราพบภาวะเครียดเก็บไว้ข้างในจนกลายเป็น “ซึมเศร้า (Depressive mood disorder)” ได้มาก หากมีอาการเหงาๆ เงียบๆ ไปขอให้ลูกๆ เข้าไปทัก นอนตัก นั่งนวด ลูบเนื้อตัวให้คุณแม่ แค่นี้ก็ช่วยล้างพิษพิชิตเครียดในหัวใจคุณแม่ได้แล้ว เปลี่ยนให้ความเครียดนั้นกลายเป็นความสุขตามประสาแม่ลูก
7.เปลี่ยนรัก ให้คุณแม่ได้พักบ้าง เพราะความรักของแม่นั้นเป็นอนันต์ ทุกๆ วันแม่มีแต่คอยรักและห่วงลูกจนเมื่อแม่ย่างเข้าวัยอาวุโสขึ้น แม่จะรู้สึกว่าต้องฝืนร่างกายดูแลลูกทำกับข้าวหรือดูแลบ้านเพื่อลูกเพราะคำ ว่า “รัก” คำเดียวเท่านั้น ข้อนี้สำคัญครับคือขอให้ลูกเปลี่ยนมาเป็นฝ่ายรักแม่อย่างที่แม่ทำบ้าง ให้แม่วางภาระงานลงแล้วหาคนมาช่วยทำงานบ้าน โดยตัวลูกเองลงมาชวนคุณแม่ทำกิจกรรมเล็กๆน้อยด้วย กันพอให้ไม่เหงาเช่น ทำกับข้าวให้แม่กิน, ชวนแม่ทำสวนหรือชวนกันเดินเล่นกวาดพื้นแถวซอยบ้าน
สำหรับเรื่องการ “เปลี่ยน” นั้น น.พ.กฤษดา กล่าวว่า เป็นเรื่องสำคัญที่ลูกทุกคนจะทำให้คุณแม่ได้ เพราะดวงใจของคุณแม่ก็คือลูก ลงถ้าลูกเป็นห่วงและขอร้องแล้วก็เชื่อว่าคุณแม่ส่วนใหญ่คงพร้อมที่จะทำอย่าง ปลื้มใจที่สุด แต่ก็ขอให้อย่าเพิ่งหยุดการเปลี่ยนนี้ที่แค่คุณแม่ เพราะตัวลูกเองก็อาจ “เปลี่ยน” ให้คุณแม่มีความสุขได้เช่นกัน โดยเปลี่ยนสำคัญที่มอบเป็นของขวัญในวันแม่ได้ก็คือ เปลี่ยนการดื่มเหล้า, สูบบุหรี่, เปลี่ยนการกินเที่ยวดึกๆ หรือเปลี่ยนตัวตนเป็นคนขยันช่วยคุณแม่ให้ไม่ต้องเหนื่อยตลอดชีพ เพราะความสำคัญอยู่ที่ “รักจากลูก” นั่นเองที่ทำให้แม่ไม่เกรงกลัวการเปลี่ยนแปลง ด้วยแรงรักที่ทำให้ “เปลี่ยน” นี้จะทำให้แม่มีสุขภาพดีอยู่กับลูกไปนานแสนนาน
ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
นายแพทย์กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์ กล่าว ว่า ในช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี ที่ทุกคนระลึกถึงพระคุณของแม่โดยการทำดีเพื่อเป็นการตอบแทนคุณท่าน ซึ่งขอแนะนำให้เปลี่ยน 7 อย่างสร้างสุขให้แม่ ด้วยวิธีง่าย ๆ สไตล์อายุรวัฒน์ โดยให้มีวิถีชะลอวัย โดยไม่จำเป็นต้องปล่อยไปตามวัยเสมอ ดังนี้คือ 1. เปลี่ยนอาหาร ผู้ที่เป็นมารดามักต้องเสียสละร่างกายส่วนหนึ่งเพื่อไปสร้างเป็นร่างกายลูก น้อย ส่วนหายไปทำให้คุณแม่ทรุดโทรมได้เมื่อถึงวัยหนึ่ง การเปลี่ยนอาหารช่วยคุณแม่นั้นขอให้เริ่มที่ ชา,กาแฟ,น้ำอัดลม,น้ำหวานและแอลกอฮอล์ ขอให้เป็นน้ำเพื่อสุขภาพนั่นคือ “น้ำเปล่า” และ “น้ำผักผลไม้ปั่นทั้งกาก” ส่วนในเรื่องมื้ออาหารขอให้ทานแบบไม่ต้องหนักทั้ง 3 มื้อก็ได้ ปรับมื้อเย็นให้เบาลงเป็นสลัดหรือผักน้ำพริกไม่มีข้าว เอาอาหารแคลเซียมสูงเติมเข้าไป อาทิ เต้าหู้,งาดำและปลาเล็กให้คุณแม่รับประทาน “เติมกระดูก” ให้ลูกควงแขนเดินเล่นได้นานๆ
2.เปลี่ยนน้ำดื่ม การดื่มน้ำแบบคุณแม่ต้องเลือกดื่มที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพจริง ๆ น้ำเปล่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุด แต่คุณแม่หลายท่านไม่คุ้นชิน การกินน้ำชา,กาแฟหรือน้ำแร่นั้นก็เป็นเรื่องนานาจิตตังสุดแต่คุณแม่นิยมครับ แต่หลักการก็คือให้มีน้ำเข้าสู่ร่างกายอย่างน้อยวันละ 2 ลิตรเพื่อบำรุงสมองและหัวใจของคุณแม่ให้ไม่เสื่อมไวจากการอักเสบตามวัย 3.เปลี่ยนการนอน คนเมื่อถึงวัยคุณแม่แล้วมักบ่นว่านอนได้น้อยลงหรือไม่ก็ตื่นไวขึ้น การนอนที่ดีของคุณแม่ขอคุณลูกแค่แอบสังเกตว่า “นอนกลางวัน” หรือไม่ถ้าใช่ให้ชวนคุณแม่ทำกิจกรรมอื่นแทนการนอน ถ้ายังไม่หลับอีกก็ให้หา “น้ำเชอรี่”, “ขี้เหล็ก”, “มะตูม” หรือชาคาโมไมล์อุ่นท้องมาให้คุณแม่รับประทานจะช่วยได้มาก
4.เปลี่ยนการนั่ง คุณแม่หลายท่านมีเรื่อง “น้ำหนักเกิน” จากการไม่ค่อยลุกเดิน ขอให้ชวนคุณแม่มาลุกเดินรอบบ้านบ้างหรือเปลี่ยนโลเคชั่นสวยๆ นอกบ้านให้คุณแม่รู้สึกอยากเดิน ไม่เช่นนั้นอาจทำให้ “ข้อเข่า” และ “ข้อสะโพก” มีปัญหา แต่ถ้ามีคุณแม่ที่ขยันไม่หยุด เดินทั้งวันก็ขอให้คุณลูกดูอย่าให้ท่านั่งท่า ขัดสมาธิ,พับเพียบ,ยองๆ และคุกเข่าบ่อยเกินไปเพราะทำลายข้อได้
5.เปลี่ยนข้อไหล่ข้อเข่า นั่นคือเปลี่ยนให้คุณแม่ได้พักร่างกายบ้าง อย่างการหิ้วของหนักหรือยกของจนข้อไหล่และหลังแทบพังนั้นขอให้เว้นไว้เลย เพราะคุณแม่อาจมีปัญหากับ “โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)” หรือกระดูกบางระยะเริ่มต้นมาก่อนแล้ว ลองคิดง่ายว่าตั้งแต่เราเกิดมาก็มีแม่คอยอุ้ม ครั้นโตขึ้นแม่บางท่านต้องช่วยหิ้วกระเป๋าหนังสือ เมื่อเติบใหญ่ทำงานได้แล้วคุณแม่ก็อาจยังต้องคอยช่วยดูแลกิจการ ช่วยยกข้าวของหรือซักผ้าทำงานบ้านเพื่อให้ลูกสบายขึ้น ขอให้จับมือคุณแม่ไว้แล้วช่วยให้ท่านเบาแรง 6.เปลี่ยนหัวใจ ในที่นี้หมายถึงจิตใจข้างในของคุณแม่ต้องแก้ที่ “เครียด” ด้วย ในผู้ใหญ่เราพบภาวะเครียดเก็บไว้ข้างในจนกลายเป็น “ซึมเศร้า (Depressive mood disorder)” ได้มาก หากมีอาการเหงาๆ เงียบๆ ไปขอให้ลูกๆ เข้าไปทัก นอนตัก นั่งนวด ลูบเนื้อตัวให้คุณแม่ แค่นี้ก็ช่วยล้างพิษพิชิตเครียดในหัวใจคุณแม่ได้แล้ว เปลี่ยนให้ความเครียดนั้นกลายเป็นความสุขตามประสาแม่ลูก
7.เปลี่ยนรัก ให้คุณแม่ได้พักบ้าง เพราะความรักของแม่นั้นเป็นอนันต์ ทุกๆ วันแม่มีแต่คอยรักและห่วงลูกจนเมื่อแม่ย่างเข้าวัยอาวุโสขึ้น แม่จะรู้สึกว่าต้องฝืนร่างกายดูแลลูกทำกับข้าวหรือดูแลบ้านเพื่อลูกเพราะคำ ว่า “รัก” คำเดียวเท่านั้น ข้อนี้สำคัญครับคือขอให้ลูกเปลี่ยนมาเป็นฝ่ายรักแม่อย่างที่แม่ทำบ้าง ให้แม่วางภาระงานลงแล้วหาคนมาช่วยทำงานบ้าน โดยตัวลูกเองลงมาชวนคุณแม่ทำกิจกรรมเล็กๆน้อยด้วย กันพอให้ไม่เหงาเช่น ทำกับข้าวให้แม่กิน, ชวนแม่ทำสวนหรือชวนกันเดินเล่นกวาดพื้นแถวซอยบ้าน
สำหรับเรื่องการ “เปลี่ยน” นั้น น.พ.กฤษดา กล่าวว่า เป็นเรื่องสำคัญที่ลูกทุกคนจะทำให้คุณแม่ได้ เพราะดวงใจของคุณแม่ก็คือลูก ลงถ้าลูกเป็นห่วงและขอร้องแล้วก็เชื่อว่าคุณแม่ส่วนใหญ่คงพร้อมที่จะทำอย่าง ปลื้มใจที่สุด แต่ก็ขอให้อย่าเพิ่งหยุดการเปลี่ยนนี้ที่แค่คุณแม่ เพราะตัวลูกเองก็อาจ “เปลี่ยน” ให้คุณแม่มีความสุขได้เช่นกัน โดยเปลี่ยนสำคัญที่มอบเป็นของขวัญในวันแม่ได้ก็คือ เปลี่ยนการดื่มเหล้า, สูบบุหรี่, เปลี่ยนการกินเที่ยวดึกๆ หรือเปลี่ยนตัวตนเป็นคนขยันช่วยคุณแม่ให้ไม่ต้องเหนื่อยตลอดชีพ เพราะความสำคัญอยู่ที่ “รักจากลูก” นั่นเองที่ทำให้แม่ไม่เกรงกลัวการเปลี่ยนแปลง ด้วยแรงรักที่ทำให้ “เปลี่ยน” นี้จะทำให้แม่มีสุขภาพดีอยู่กับลูกไปนานแสนนาน
ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555
มือ เท้า ปาก
สธ. ประกาศ ให้ปชช.เฝ้าระวังป้องกันโรคมือเท้าปาก
กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศ ตามที่มีรายงานเรื่อง โรคมือ เท้า ปาก ระบาด กระทรวงสาธารณสุข ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด จึงออกมาตรการเพื่อดำเนินการป้องกันและควบคุมโรค รัฐบาลได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมมือในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรค
ทั้งนี้ให้ดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง เน้นการรักษาความสะอาดและสุขอนามัย โดยเฉพาะในศูนย์เด็กเล็ก สถานศึกษาและชุมชน โดยประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องโรคมือ เท้า ปาก และการป้องกันโรคแก่ประชาชนโรคมือ เท้า ปาก มักเกิดในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี พบได้น้อยในเด็กโต หรือ ผู้ใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัสหลายชนิด ในกลุ่มเอ็นเทอโรไวรัส ลักษณะอาการป่วย คือ จะมีไข้ มีจุด หรือ ผื่นแดงในปาก ลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้มและเกิดผื่นแดง ซึ่งต่อมาจะเกิดเป็นตุ่มพองใส บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และที่ก้น บางรายอาจไม่มีตุ่มพอง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการไม่รุนแรงและสามารถหายได้เอง ใน 7-10 วัน
สำหรับโรคนี้จะรักษาตามอาการ ผู้ป่วยประมาณร้อยละ 1-2 อาจมีโรคแทรกซ้อน เช่น มีอาการทางสมอง หรือ อาการในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งส่วนใหญ่รักษาหายได้ แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรงและเสียชีวิต ซึ่งมักเกิดจากเชื้อไวรัสบางตัว เช่น เชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 เชื้อโรคมือ เท้า ปาก อยู่ในน้ำมูก น้ำลาย น้ำจากตุ่มพอง และแผลในปากของผู้ป่วย เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางปาก โดยติดมากับมือ หรือ ภาชนะที่ใช้ร่วมกัน เช่น ช้อน แก้วน้ำ หรือ ติดจากการไอ จามรดกัน จึงอาจติดต่อกันได้ง่ายในสถานที่ ที่มีเด็กอยู่ร่วมกันจำนวนมาก เช่น สถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล
โดยกระทรวงสาธารณสุข จึงแนะนำให้ทำความสะอาดอย่างละเอียด ทั้งสถานที่ ภาชนะที่ใช้ร่วมกัน และควรตรวจคัดกรองเด็กทุกวัน หากพบเด็กมีไข้ หรือ มีอาการน่าสงสัยเป็นโรคมือ เท้า ปาก ควรให้เด็กหยุดเรียน หากสังเกตว่าเด็กมีอาการมากขึ้น เช่น มีไข้สูง เป็นแผลในปาก ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น หอบเหนื่อย อาเจียน ชัก ให้รีบนำไปพบแพทย์ ทั้งนี้ หากมีเด็กป่วยเพิ่มขึ้น ให้พิจารณาปิดสถานศึกษา เพื่อทำความสะอาดและป้องกันการระบาด ตามแนวทางที่สาธารณสุขแนะนำ
อย่างไรก็ตาม ประชาชนทั่วไป ควรรักษาความสะอาด ด้วยการล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหาร และหลังการขับถ่าย สังเกตอาการของเด็กอย่างใกล้ชิด หากพบว่าดังมีอาการตามที่กล่าวมา แม้จะไม่มีผื่นขึ้นก็ตาม ควรรีบนำไปพบแพทย์ หลีกเลี่ยงการนำเด็กไปอยู่ในที่ชุมชนสาธารณะ หรือที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก เพื่อลดความเสี่ยงในการติดโรค ขอให้ประชาชนเฝ้าระวัง ป้องกัน และช่วยกันควบคุมโรคมือ เท้า ปาก ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศ ตามที่มีรายงานเรื่อง โรคมือ เท้า ปาก ระบาด กระทรวงสาธารณสุข ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด จึงออกมาตรการเพื่อดำเนินการป้องกันและควบคุมโรค รัฐบาลได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมมือในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรค
ทั้งนี้ให้ดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง เน้นการรักษาความสะอาดและสุขอนามัย โดยเฉพาะในศูนย์เด็กเล็ก สถานศึกษาและชุมชน โดยประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องโรคมือ เท้า ปาก และการป้องกันโรคแก่ประชาชนโรคมือ เท้า ปาก มักเกิดในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี พบได้น้อยในเด็กโต หรือ ผู้ใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัสหลายชนิด ในกลุ่มเอ็นเทอโรไวรัส ลักษณะอาการป่วย คือ จะมีไข้ มีจุด หรือ ผื่นแดงในปาก ลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้มและเกิดผื่นแดง ซึ่งต่อมาจะเกิดเป็นตุ่มพองใส บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และที่ก้น บางรายอาจไม่มีตุ่มพอง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการไม่รุนแรงและสามารถหายได้เอง ใน 7-10 วัน
สำหรับโรคนี้จะรักษาตามอาการ ผู้ป่วยประมาณร้อยละ 1-2 อาจมีโรคแทรกซ้อน เช่น มีอาการทางสมอง หรือ อาการในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งส่วนใหญ่รักษาหายได้ แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรงและเสียชีวิต ซึ่งมักเกิดจากเชื้อไวรัสบางตัว เช่น เชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 เชื้อโรคมือ เท้า ปาก อยู่ในน้ำมูก น้ำลาย น้ำจากตุ่มพอง และแผลในปากของผู้ป่วย เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางปาก โดยติดมากับมือ หรือ ภาชนะที่ใช้ร่วมกัน เช่น ช้อน แก้วน้ำ หรือ ติดจากการไอ จามรดกัน จึงอาจติดต่อกันได้ง่ายในสถานที่ ที่มีเด็กอยู่ร่วมกันจำนวนมาก เช่น สถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล
โดยกระทรวงสาธารณสุข จึงแนะนำให้ทำความสะอาดอย่างละเอียด ทั้งสถานที่ ภาชนะที่ใช้ร่วมกัน และควรตรวจคัดกรองเด็กทุกวัน หากพบเด็กมีไข้ หรือ มีอาการน่าสงสัยเป็นโรคมือ เท้า ปาก ควรให้เด็กหยุดเรียน หากสังเกตว่าเด็กมีอาการมากขึ้น เช่น มีไข้สูง เป็นแผลในปาก ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น หอบเหนื่อย อาเจียน ชัก ให้รีบนำไปพบแพทย์ ทั้งนี้ หากมีเด็กป่วยเพิ่มขึ้น ให้พิจารณาปิดสถานศึกษา เพื่อทำความสะอาดและป้องกันการระบาด ตามแนวทางที่สาธารณสุขแนะนำ
อย่างไรก็ตาม ประชาชนทั่วไป ควรรักษาความสะอาด ด้วยการล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหาร และหลังการขับถ่าย สังเกตอาการของเด็กอย่างใกล้ชิด หากพบว่าดังมีอาการตามที่กล่าวมา แม้จะไม่มีผื่นขึ้นก็ตาม ควรรีบนำไปพบแพทย์ หลีกเลี่ยงการนำเด็กไปอยู่ในที่ชุมชนสาธารณะ หรือที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก เพื่อลดความเสี่ยงในการติดโรค ขอให้ประชาชนเฝ้าระวัง ป้องกัน และช่วยกันควบคุมโรคมือ เท้า ปาก ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข
เชิญร่วมบริจาคโลหิต
ขอเชิญร่วมบริจาคโลหิตที่หอประชุมที่ว่าการอำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี
ในวันที่ 9 สิงหาคม 2555 เวลา 08.30 เป็นต้นไป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)