วันจันทร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2557

สธ. ห่วงคนป่วยเบาหวานควบความดันโลหิตสูง เร่งไตวายเร็วขึ้น

    สธ. ห่วงคนป่วยเบาหวานควบความดันโลหิตสูง เร่งไตวายเร็วขึ้น

    สธ. ห่วงคนป่วยเบาหวานควบความดันโลหิตสูง เร่งไตวายเร็วขึ้น


    ตรวจสุขภาพ

    สธ. เตือนประชาชน ที่ป่วยควบทั้งเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง เร่งไตวายเร็วขึ้น ! (กระทรวงสาธารณสุข)

              แพทย์เตือนประชาชน หากป่วยควบ 2 โรคทั้งเบาหวาน ความดันโลหิตสูงพร้อมกัน จะเร่งเกิดปัญหาไตวายเร็วขึ้น เพราะหลอดเลือดถูกทำลาย 

              เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2557 นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตรวจเยี่ยมราชการที่โรงพยาบาลศรีสะเกษ เพื่อติดตามความคืบหน้าของการร่วมจัดบริการรักษาพยาบาลดูแลสุขภาพและลดปัญหาการเจ็บป่วยของประชาชนของสถานบริการในสังกัดทุกระดับที่อยู่ในเขตบริการสุขภาพที่ 10 ซึ่งประกอบด้วย 5 จังหวัดได้แก่ อุบลราชธานี  ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และมุกดาหาร รวมทั้งหมด 71 แห่ง ดูแลประชาชนประมาณ 4.5 ล้านคน

              นายแพทย์ณรงค์ กล่าวว่า ปัญหาสุขภาพประจำถิ่นนี้ พบว่าประชาชนป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายกันมาก ทั้ง 5 จังหวัดมี 3,000 กว่าคน  ร้อยละ 30 ต้องใช้การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ที่เหลือฟอกทางหน้าท้อง โดยมีผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายรายใหม่เพิ่มปีละกว่า 100 ราย สาเหตุที่ทำให้ประชาชนป่วยเป็นโรคดังกล่าวมาก เกิดมาจากโรคเบาหวานมากเป็นอันดับ 1 รองลงมาคือโรคความดันโลหิตสูง และไตอักเสบจากโรคนิ่ว   

              โดยมีผู้เชี่ยวชาญโรคไตระบุว่า หากประชาชนป่วยทั้งโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 2 โรคพร้อมกัน จะทำให้เกิดไตวายได้เร็วกว่าป่วยเป็นโรคเดียว เนื่องจากทั้ง 2 โรคนี้ทำให้หลอดเลือดไปเลี้ยงไตเสื่อม ซึ่งผลการสำรวจล่าสุดในปี 2555 ทั่วประเทศพบประชาชนป่วยเป็นทั้งโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ประมาณ 6 แสนคน ดังนั้น จึงคาดว่าแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หากผู้ป่วยไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพคือ ลดกินเค็ม ลดกินหวาน และอาหารมัน รวมทั้งการออกกำลังกายอย่างน้อยวันละไม่ต่ำกว่า 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน  ตามคำแนะนำของแพทย์ 

              ทั้งนี้ จากการตรวจคัดกรองนิ่วประชาชนในเขตสุขภาพที่ 10 จำนวน 1.3 ล้านคน พบไตทำงานผิดปกติเบื้องต้น จำนวน 30,000 คน คิดเป็นร้อยละ 2.5 ซึ่งสาเหตุน่าจะมาจากการทำอาชีพที่เสียเหงื่อมาก เช่น ทำงานกลางแจ้ง ทำให้ร่างกายขาดน้ำ ไตทำงานหนักขึ้น รวมทั้งการกินอาหารที่มีสารอ็อกซาเลตมาก เช่น ผักติ้ว ผักกระโดน และจากพันธุกรรมที่มีภาวะสารแม็กนีเซียมในร่างกายต่ำมาก่อน จะต้องเร่งป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาไตวายโดยเร็ว  โดยใช้กลไกของรณรงค์ให้ความรู้ในหมู่บ้านชุมชน โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และ อสม.       
     

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ค้นหาบล็อกนี้